ผลพวงจากมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าวัตถุดิบจากรัสเซียทำให้วัตถุดิบและสินค้าต่าง ๆ ที่เยอรมนีที่เคยนำเข้าจากรัสเซีย อาทิ โคบอลต์ ลิเธียม และ ทองแดง อยู่ในภาวะขาด ตลาดและมีราคาปรับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งล่าสุดถึงคิว ‘นิกเกิล’ ที่กำลังขาดตลาดจนทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น 5 เท่าตัว ส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และยานยนต์ไฟฟ้าเนื่องจากนิกเกิลเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ‘แบตเตอรี่รถยนต์’ และนิกเกิลที่ใช้ใน อุตสาหกรรมรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นเกรดพรีเมี่ยม
ขณะที่ รัสเซียที่เป็นผู้ส่งออกนิกเกิลชนิดนี้กว่า 20% ที่ผลิตได้ของโลก ดังนั้น เมื่อเกิดการขาดแคลนนิกเกิล ย่อมทำให้การผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ชะงักงันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจทำให้เป้าที่จะผลักดันรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าต้องลำบากมากขึ้นไปอีก
ล่าสุดบริษัท Volkswagen ได้หาทางออกด้วยการประกาศทำกิจการร่วมค้า (หรือ Joint Ventures) กับ 2 พันธมิตรของจีน ด้วยการวางแผนเข้าไปลงทุนสร้างเหมืองนิกเกิลแห่งใหม่ในอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ช่วงต้นเดือนมีนาคม 2565 ในการซื้อขายในตลาด London Metal Exchange (LME) พบว่า ราคานิกเกิลปรับตัวสูงขึ้นถึง 4 เท่าตัวในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง จนระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดฯ ทำงานตาม แทบไม่ทันและสุดท้ายต้องหยุดการซื้อขายนิกเกิลติดต่อกันหลายวัน
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ปัจจุบันตลาดวัตถุดิบได้กังวลใจว่า หากรัสเซียระงับการส่งออกนิกเกิลเมื่อไร ก็จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนนิกเกิลให้รุนแรงมากขึ้นไป อีก เพราะก่อนหน้าที่จะมีการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนนั้น นิกเกิลก็เป็นวัตถุดิบที่หายากและมีราคาสูงอยู่แล้ว ขณะที่ในปีที่ผ่านมา ราคาของนิกเกิลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน พอมา ถึงช่วงต้นปี 2565 ราคาของนิกเกิลได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 25,000 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน และ ภายหลังจากที่รัสเซียเข้าบุกยูเครน ราคาของนิกเกิลได้กระโดดขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 100,000 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ราคานิกเกิลได้ปรับตัวลดลงไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงมากอยู่ดี โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการซื้อขายวัตถุดิบของธนาคาร UBS (Union Bank of Switzerland) คาดการณ์ว่า ราคานิกเกิลในช่วงกลางปี 2565 น่าจะลดลงมาอยู่ที่ 34,000 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน โดย 9% ของนิกเกิล ที่ขายอยู่ในตลาดโลกมาจากรัสเซีย จึงทำ ให้รัสเซียเป็นประเทศผู้ผลิตนิกเกิลรายใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก
นาย Caspar Rawles ตัวแทนบริษัท ที่ปรึกษา Benchmark Mineral Intelligence (BMI) เปิดเผยว่า หากรัสเซียไม่สามารถส่งออกนิกเกิลได้ ก็จะสร้างปัญหาอย่างหนักให้ กับห่วงโซ่อุปทานของการผลิตแบตเตอรี่ได้ ซึ่งเกิด ขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ราคาลิเธียมกับโคบอลต์ สูงมากเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นาย Soni Kumari ผู้แทนธนาคาร ANZ (Australia and New Zealand Banking Group Limited) ประเมินว่า โดยปกติแล้ว ปัญหาภูมิศาสตร์การเมืองมักจะส่งผลกระทบต่อตลาดวัตถุดิบในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น แต่สำ หรับครั้งนี้ฃแตก ต่างจากครั้งอื่น ๆ เพราะรัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของโลก และเวลานี้ ไม่เฉพาะนิกเกิลเท่านั้นที่มีราคาแพงขึ้น แต่โคบอลต์ (เป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่) ก็มีราคาสูงด้วย เช่นกัน โดยราคาโคบอลต์ในตลาด Metal Exchange ของกรุงลอนดอนมีราคาสูงถึง 10,200 เหรียญ สหรัฐฯ/ตัน ซึ่งราคาวัตถุดิบ อาทิ นิกเกิล โคบอลต์ และทองแดง ที่สูงขึ้นนี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม การผลิตรถไฟฟ้า (EV – Electric Vehicle) อย่างมาก เพราะในกระบวนการผลิตแบตเตอรี่รถ EV ต้อง ใช้ทองแดงมากกว่าในรถยนต์ปกติถึง 6 เท่าตัว
นอกจากนี้ UBS ได้ออกมาเตือนว่า มีความเป็นไปได้ที่ ทองแดงจะเริ่มขาดตลาดแบบกะทันหันในอนาคต และวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดในการผลิตแบตเตอรี่ คือ ลิเธียม ก็มีราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
จากข้อมูลของ S&P Global Platts เปิดเผยว่า ราคาของลิเธียมไฮดรอกไซด์ในจีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตแบตเตอรี่มีราคาสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าในระยะสั้น ราคาของวัตถุดิบที่ผลิตแบตเตอรี่ที่สูงขึ้นจะยังไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ บริโภค เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ได้ทำสัญญากับผู้ผลิตแบตเตอรี่ในระยะยาว แต่หลังจากนี้ ราคาของรถ EV ก็น่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นไปอีกเป็นที่แน่นอน โดย LG Energy Solution ผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ รายใหญ่ของเกาหลีใต้ได้คำนวณไว้แล้วว่า ราคาวัตถุดิบคิดเป็น 70 – 80% ของราคาแบตเตอรี่หนึ่งชิ้น
แหล่งที่มา: Handelsblatt
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน