โครงการดาราสาคร (Dara Sakor) เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative ของจีน โดย รัฐบาลกัมพูชาได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนากับ Union Development Group (UDG) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ของบริษัท Tianjin Wanlong Group ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีน เมื่อปี 2551 เพื่อสร้างโครงการ เขตทดลองการพัฒนาแบบบูรณ าการระหว่างจีนกับกัมพูชา (Cambodia – China Comprehensive Investment and Development Pilot Zone) ขึ้นโดย Union Development Group ได้รับสัมปทานที่ดินเพื่อเศรษฐกิจจากรัฐบาลกัมพูชาเป็นเวลา 99 ปี โดยโครงการมีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 270,000 ไร่ กินพื้นที่ใน 2 อำเภอหลักของเกาะกง คือ Kiri Sakor และ Botum Sakor มีแนวชายฝั่งทะเลคิดเป็นร้อยละ 20 ของแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมดของกัมพูชา และอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ Botum Sakor
โดยบริษัทฯ ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ภายใต้ชื่อโครงการ Dara Sakor มีแผนการพัฒนาพื้นที่ในระยะยาว 25-30 ปีหากแล้วเสร็จภายในโครงการจะ ประกอบด้วย สาธารณูปโภคครบครันทั้งโครงข่ายถนน สนามบินนาชาติขนาดใหญ่ที่รองรับเครื่องบินขนาด A380 ได้ ท่าเรือน้ำลึกสำหรับจอดเรือสำราญ คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล หมู่บ้านจัดสรร สนามกอล์ฟ18 หลุม 2 สนาม และคาสิโน ถนนเข้าโครงการ 4 เลนยาว 64 กิโลเมตร จากถนนสายหลักไปยังริมชายฝั่งทะเล
รวมถึงแหล่งน้ำขนาดใหญ่อีก 2 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างโซนต่างๆ อาทิเช่น Intelligent Industrial Park และ Commercial Area กว่า 100,000 เฮกตาร์ ด้วยเงินลงทุนรวมประมาณ 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตั้งแต่ปี 2551 – ปัจจุบัน ใช้งบประมาณในการลงทุนไปแล้วประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีเงิน ลงทุนหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง)
การพัฒนาพื้นที่ในโครงการแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
1. International (Tourism) District พื้นที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร จะมีท่าอากาศยานนานาชาติโรงแรม รีสอร์ท คาสิโน สนามกอล์ฟ ท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 1 ฯลฯ คาดว่าจะดำเนินการได้เต็มรูปแบบในอีก 5 ปี
2. International Trade District ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60ตารางกิโลเมตร มีท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 และนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ
3. Future District พื้นที่ประมาณ 200 ตารางกิโลเมตร จะพัฒนาเป็นเมืองใหม่เชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในอีก 20 – 30 ปี
การก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติดาราสาคร (Dara Sakor International Airport)
พัฒนาโดย Tianjin Union Development Group ของจีน โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างและพัฒนา ประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้อยู่ระหว่างการ ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและหอบังคับการบิน คาดว่าจะเสร็จ สมบูรณ์ภายในปีนี้ ส่วนลานบินแบ่งเป็น 3 เฟส โดยเฟสที่ 1 สร้างเสร็จแล้ว ความยาว 3,400 เมตร สามารถรองรับอากาศ ยานได้จนถึง A340 ส่วนเฟสที่ 2 และ 3 จะสามารถรองรับ อากาศยานได้จนถึง A380 Boeing 747 และ 777 ซึ่งหาก เปรียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกรุงพนมเปญที่มีเพียง 1 รันเวย์ความยาว 3,000 เมตร และท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิที่มี 2 รันเวย์ความยาว 4,000 และ 3,700 เมตร และ 2 ลานแท็กซี่ แล้ว สนามบินฯ ดังกล่าวถือว่ามีขนาดใหญ่มาก
โครงการท่าเรือน้ำลึก(Deep Seaport)
ท่าเรือน้้าลึกแห่งที่ 1 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะมีขีดความสามารถในการรับเรือได้สูงสุด 20,000 ตัน (DWT) และท่าเรือน้้าลึกแห่งที่ 2 มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีขีดความสามารถในการรับเรือได้สูงสุด 100,000 ตัน ซึ่งหากเปรียบเทียบแล้วใหญ่กว่าท่าเรือสีหนุ (ท่าเรือพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกัมพูชาขณะนี้มีขีด ความสามารถในการรับเรือได้สูงสุดได้เพียงแค่ 15,000 ตัน) ถึง 6 เท่าใหญ่กว่าท่าเรือกรุงพนมเปญ (5,000 ตัน) ถึง 20 เท่า และใหญ่กว่าท่าเรือแหลมฉบังของไทย ซึ่งมีขีดความสามารถในการรับเรือได้สูงสุด 83,000 ตัน ถึง 1.2 เท่า
ซึ่งถือได้ว่าท่าเรือแห่งนี้มีขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษ ซึ่งจากการประเมินโดย Financial Times พบว่า ท่าเรือแห่งนี้มีระดับความลึกพอที่จะสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ เรือเดินสมุทร หรือแม้กระทั่งเรือในกิจการ ทางด้านการทหารก็ตาม อย่างไรก็ดีแม้ว่าทั้งท่าอากาศยานและท่าเรือน้ำลึกภายในโครงการที่มีขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษจนหลายๆ หน่วยงานมีข้อกังขาและวิตกว่าโครงการดาราสาครอาจมีจุดประสงค์อื่นแอบแฝงไม่ใช่แค่เพียงเชิงพาณิชย์และการ ท่องเที่ยวเท่านั้น
แต่อาจรวมถึงการเป็นที่ตั้งฐานทัพเฉพาะกิจสำหรับเรือรบและเครื่องบินของกองทัพจีนได้ แต่ทาง ผู้พัฒนาโครงการก็ยังยืนยันว่า ท่าเรือน้ำลึกและท่าอากาศยานดังกล่าว สร้างเพื่อรองรับโครงการที่กำลังจะ พัฒนาขึ้นในอนาคตเท่านั้น UDG ได้วางแผนในการพัฒนาโครงการ Dara Sakor ให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และการขนส่งที่ เชื่อมโยงการขนส่งทางอากาศและทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผลักดันให้เป็นเขตพัฒนาเศรฐกิจนอกชายฝั่งทะเล (Ocean-offshore economic development zone) ภายใต้ ASEAN Free trade zone ต่อไปในอนาคต
Dara Sakor คู่แข่ง EEC
UDG ได้วางยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การลงทุนในโครงการ Dara Sakor ให้สอดรับกับนโยบายหลักของ รัฐบาลจีนภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt One Road เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการค้า การลงทุน ไปสู่ยุโรปตะวันตก และเอเชียทั้งภูมิภาค โดยจะพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงต่างๆ เพื่อให้โครงการฯ เป็นศูนย์กลางสินค้าอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้าสู่นานาประเทศผ่านท่าเรือน้ าลึกและสนามบินนานาชาติ และดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน
ซึ่งหากเปรียบเทียบแล้ว นโยบายในการพัฒนาพื้นที่ของโครงการ Dara Sakor มีความคล้ายคลึงกับการ พัฒนาพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อโครงการให้ อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ One Belt One Road การพัฒนาท่าเรือให้เป็นเมืองท่าแห่งอาเซียนหรือศูนย์กลางด้าน โลจิสติกส์เขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เป็น นวัตกรรมสมัยใหม่ เป็นต้น ซึ่งจากภาพโดยรวมโครงการทั้งสองมีนโยบายที่ไม่ต่างกันมาก
นอกจากนี้พื้นที่และ ทำเลที่ตั้งของโครงการยังอยู่ไม่ไกลจากกันมากนัก ซึ่งโครงการ Dara Sakor นั้น ถือได้ว่าเป็นเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในการพัฒนาพัฒนาพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย เพราะการพัฒนาโครงการ ต่างๆ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเงินลงทุนมหาศาลและเงินช่วยเหลือที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากจีน 6 แต่หากมองในมุมของการพัฒนาร่วมกันและใช้ประโยชน์และจุดเด่นที่แต่ละโครงการมีอยู่ เพื่อดึงดูดให้มีการเข้า มาลงทุนในภูมิภาคร่วมกันแล้วก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีและถือเป็น win-win situation ต่อทั้งสองฝ่ายได้
สำหรับผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมและรีสอร์ท ธุรกิจ ร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจด้านโลจิสติกส์ที่ต้องการจะขยายธุรกิจเข้าไปในโครงการ Dara Sakor นั้น ถือว่ายังมี โอกาส เนื่องจาก UDG ยังคงต้องการผู้เข้ามาร่วมลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้อีกมาก
ทั้งนี้ในภาพรวมโครงการ Dara Sakor ถือเป็นอีกโครงการที่สำคัญมากโครงการหนึ่งในกัมพูชา หากการ พัฒนาโครงการสามารถสำเร็จได้ตามเป้าหมายจริงตามที่วางไว้พื้นที่บริเวณนี้จะกลายเป็นเขตอุตสาหกรรม เขตการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และศูนย์กลางการเชื่อมโยงและการขนส่งที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาและประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างมากในอนาคต
อ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ