อิตาลีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ทำการค้าระหว่างประเทศโดยใช้ระบบการขนส่งทางเรือมากเป็นอันดับต้น ๆ ในยุโรป ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 50% ของระบบขนส่งการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันอิตาลีมีท่าเรือหลักที่สำคัญ สำหรับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทั้งหมด 16 ท่าเรือ ได้แก่ Genova, La Spezia, Livorno, Venezia, Trieste, Ravenna, Ancona, Bari, Taranto, Gioia Tauro, Napoli, Civitavecchia, Catania, Messina, Cagliari แ ล ะ Palermo
โดยท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของปริมาณน้ำหนักขนส่งรวม คือ ท่าเรือ Trieste ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่ง สินค้าอุตสาหกรรมหนักจำพวกแร่ ไม้น้ำมันปิโตรเลียม ในขณะที่ ท่าเรือ Genova (เจโนวา) ถือเป็นท่าเรือที่มี ความสำคัญที่สุดด้านการค้าระหว่างประเทศ สามารถรองรับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์จากทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ มีเส้นทางเชื่อมต่อที่สะดวกและรวดเร็วไปยังประเทศในแถบตอนกลาง ของยุโรป โดยเฉพาะสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และออสเตรีย โดยปี 2563 ท่าเรือทั้งหมดในอิตาลี มีปริมาณการขนส่ง สินค้ารวมกันประมาณ 444 ล้านตัน
ท่าเรือ Genova ตั้งอยู่ในทะเลลีกูเรียตะวันตก เป็นท่าเรือที่ สำคัญของเมือง Genova แคว้น Liguria มีขนาดพื้นที่ขยายออกไป อย่างต่อเนื่องเป็นระยะทางถึง 22 กิโลเมตรตามแนวชายฝั่ง โดยมี พื้นที่ผิวรวม 6 ล้านตารางเมตร และมีท่าจอดเรือ 25 แห่ง ซึ่งพร้อม รองรับเรือบรรทุกและสินค้าทุกประเภท ได้แก่ ตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่าย โลหะ สินค้าไม้สินค้าเทกองที่ เป็นของแข็งและของเหลว ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงการขนส่ง ผู้โดยสาร เป็นต้น
![](https://www.transtimenews.co/wp-content/uploads/2022/03/Lanterna_di_Genova-1024x683.jpg)
นอกจากนี้ท่าเรือ Genova ยังถือเป็นศูนย์กลาง การกระจายการผลิต และมีบทบาทสำคัญในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับการสัญจรทางตู้คอนเทนเนอร์และมอเตอร์เวย์ในทะเล รวมถึงเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัทเดินเรือรายใหญ่ ๆ ที่สำคัญ ปัจจุบันท่าเรือ Genova ได้มีการวางแผนปรับปรุงพัฒนา ท่าเรือให้กลายเป็นท่าเรือที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
โดยท่าเรือจะได้รับเงิน สนับสนุนจากแผนการพัฒนาและฟื้นฟูประเทศ (Il Piano Nazionale di Ripresa e Resilienza) และเงินสนับสนุน ของเมือง Genova รวมกว่า 2.2 พันล้านยูโร ซึ่งเงินสนับสนุนดังกล่าวจะมีการจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือให้เป็นท่าเรือ สีเขียว ลดการปล่อยมลพิษ เน้นประสิทธิภาพพลังงาน เน้นด้านโลจิสติกส์เพื่ออำนวยความสะดวกของการขนส่งสินค้า จากท่าเรือไปจนถึงสนามบิน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาสู่ระบบดิจิทัล รวมกันกว่า 27 โครงการ ซึ่งจะ ส่งให้มีการจ้างงานในประเทศมากกว่า 2 หมื่นคน
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยของธนาคาร Intesa Sanpaolo (SRM) รายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศโดยการขนส่ง ทางเรือของอิตาลีในปี 2563 ว่า มีมูลค่ามากกว่า 206 พันล้านยูโร หดตัวลดลง 17% เทียบกับปี 2562 ซึ่งการลดลง ดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ที่ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของ อิตาลีเกิดการชะลอและหยุดชะงัก
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสแรกของปี 2564 การค้าระหว่างประเทศโดยการขนส่ง ทางเรือกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น 3% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยประเทศจีนถือเป็นแหล่งนำเข้าหลักของ อิตาลีที่ใช้ระบบการขนส่งทางเรือ มีมูลค่า 20.5 พันล้านยูโร หรือคิดเป็นสัดส่วน 21% ของสินค้าที่อิตาลีนำเข้าทางเรือ ทั้งหมดในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของอิตาลีที่ใช้ระบบการขนส่งทางเรือ มีมูลค่ากว่า 27.2 พันล้านยูโร หรือคิดเป็นสัดส่วน 26% ของสินค้าที่อิตาลีส่งออกทางเรือทั้งหมด
![](https://www.transtimenews.co/wp-content/uploads/2022/03/ISS_7315_06522-1024x512.jpg)
จากข้อมูลตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การค้าระหว่าง ประเทศของอิตาลีโดยใช้ระบบขนส่งทางเรือในปี 2563 เกิดการ ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของ ท่าเรือ Genova โดยในช่วงปี 2563 ท่าเรือ Genova มีปริมาณ การขนส่งสินค้าทั้งหมด 44.1 ล้านตัน (-16.3% เทียบกับปี 2562) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปริมาณของตู้คอนเทนเนอร์ถึง 22.4 ล้านตัน (-9%) มีจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต (TEU) 2.3 ล้านตู้ (-10%)
ในส่วนของการขนส่งผู้โดยสารได้รับผลกระทบมาก ที่สุดจากการหยุดชะงักของการล่องเรือท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วง ฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อนทำให้ปริมาณการล่องเรือของนักท่องเที่ยว ลดลง 90% ในขณะที่ปริมาณการใช้เรือข้ามฟากลดลง 44.9% แต่ในปี 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ในอิตาลีและทั่วโลกค่อย ๆ กลับมาฟื้นตัวดีขึ้น จากการรณรงค์การจัดฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด – 19 การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้ระบบ การขนส่งของท่าเรือ Genova กลับมาฟื้นตัวอีกครั้งถึงแม้จะต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ก็ตาม โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด 24.5 ล้านตัน (+12.4% เทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปริมาณของตู้คอนเทนเนอร์11.9 ล้านตัน (+7.2%) มีตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต (TEU) จำนวน 1.3 ล้านตู้(+15.7%)
แหล่งอ้างอิง :
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน