พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือท่าเรือพี่น้องระหว่าง ท่าเรือเซี่ยเหมิน และท่าเรือแหลมฉบังของไทย ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ On-Site และผ่านระบบออนไลน์ทางไกล โดยมีผู้บริหารภาครัฐของไทยและจีนเข้าร่วม อาทิ ฝ่ายจีน ประกอบด้วย นายหวง เยี่ยนเทียน รองนายกเทศมนตรีเมืองเซี่ยเหมิน นายจาง เฉวียน อธิบดีสำนักงานการต่างประเทศเมืองเซี่ยเหมิน นายเซี่ย ชางเหวิน ผู้อำนวยการท่าเรือเมืองเซี่ยเหมิน และฝ่ายไทย นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายพีระวัฒน์ อัศวปรานี กงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทู9สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย รวมผู้เข้าร่วมทั้งฝ่ายไทยและจีนประมาณ 100 คน
ปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังจัดเป็นท่าเรือมิตรภาพแห่งที่ 16 ที่ท่าเรือเซี่ยเหมินได้ร่วมลงนามความร่วมมือท่าเรือพี่น้อง
การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล บุคลากร การฝึกอบรม เทคโนโลยีขนส่งการพัฒนาระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร การพัฒนาการบริหารจัดการ เพื่อให้ทั้งสองท่าเรือส่งเสริมและพัฒนาโอกาสทางการค้า และการขนส่งโลจิสติกส์ร่วมกัน ตลอดจนสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
โดยที่ผ่านมาในปี 2563 กงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน ได้เห็นความสำคัญของท่าเรือทั้งสองที่จะสามารถเชื่อมโยง EEC ของไทยกับเมืองเซี่ยเหมิน ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางทะเลที่สำคัญ จึงได้เสนอให้ทั้งสองท่าเรือลงนามความตกลงท่าเรือพี่น้อง ท่าเรือเซี่ยเหมินและท่าเรือแหลมฉบังเป็นสองท่าเรือใหญ่ที่เชื่อมระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งความร่วมมือของทั้งสองท่าเรือจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางด้านการขนส่งและสร้างโอกาสในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมา ท่าเรือเซี่ยเหมินมีการดำเนินการเจรจาและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับท่าเรือแหลมฉบังอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางรากฐานความร่วมมือและการพัฒนาการท่าเรือของทั้งสองประเทศอย่างมั่นคง ในปัจจุบัน มีเส้นทางจากท่าเรือเซี่ยเหมินมายังประเทศไทยรวม 32 เส้นทาง ในจำนวนนี้ มีเส้นทางถึงท่าเรือแหลมฉบังถึง 21 เส้นทาง ส่งผลให้ธุรกิจการท่าเรือของทั้งสองประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2565 ได้ครบรอบ 10 ปี ของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์รอบด้านจีน-ไทย
มูลค่าการค้าระหว่างไทยจีนทะลุแสนล้านเหรียญสหรัฐเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน ในปี 2565 มูลค้าการค้าระหว่างประเทศ
ระหว่างเซี่ยเหมินกับไทยอยู่ที่ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ มีบริษัทไทยที่เข้ามาลงทุนในเมืองเซี่ยเหมินมากกว่า 40 แห่ง
ท่าเรือเซี่ยเหมินเป็น 1 ใน 4 ศูนย์กลางการขนส่งทางเรือระดับนานาชาติของจีน และเป็น 1 ใน 4 ท่าเรือ
นำร่องของการเดินเรือสำราญ

ท่าเรือเซี่ยเหมินไม่เพียงแต่เป็นหนึ่งในท่าเรือสำคัญของจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นท่าเรือสำคัญระดับโลก ที่เชื่อมโยงตามเส้นทางยุทธศาสตร์สายไหมทางทะเล โดยเป็นศูนย์กลางของระบบการขนส่งที่สำคัญของประเทศ ปริมาณตู ้คอนเทนเนอร์หมุนเวียนสูงถึง 12 ล้านTEUต่อปีเป็นท่าเรือต้นทางสำคัญของเรือสำราญ และยังเป็นท่าเรือแลกเปลี่ยนระหว่างช่องแคบไต้หวัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาท่าเรือเซี่ยเหมิน ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและยกระดับท่าเรืออย่างต่อเนื่อง ผู้รับบริการได้ประโยชน์จากต้นทุนต่ำ เป็นท่าเรืออัจฉริยะท่าเรือสีเขียว ตลอดจนขยายความแข็งแกร่งของการท่าเรือให้ก้าวไกลสู่ระดับนานาชาติ
ท่าเรือแหลมฉบังเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ติดอันดับที่ 20 ของโลก เป็นจุดเชื่อมโยงอาเซียนกับโลกไว้ด้วยกัน สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่พิเศษ (Super Post Panamax) เชื่อมโยงเส้นทางโลจิสติกส์ทางรถ ราง ทะเล และอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ในปี 2562 มีการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ถึง 8.106 ล้านTEU ปริมาณตู้บรรจุสินค้าในปี 2564 อยู่ที่8.418 ล้านTEU เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.56 YoY

ซึ่งปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาท่าเทียบเรือเฟสที่ 3 คาดว่าเมื่อเฟส 3 แล้วเสร็จจะสามารถรองรับได้ถึง 18 ล้านTEU และก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งใน 10 ของโลกการร่วมมือของทั้งสองฝ่ายจะสามารถเสริมสร้างความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนด้านการเดินเรือ โลจิสติกส์การจัดการท่าเรือ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต โดยจะมีกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ท่าเรือทั้ง 2 ท่าเรือ ยกระดับการค้าระหว่างประเทศและการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในขณะเดียวกัน ท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งยังสามารถเสริมสร้างการฝึกอบรมทางเทคนิค แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการเสริมสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น