เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โตโยต้าได้ประกาศเปลี่ยนตัวผู้บริหารจากนาย อากิโอะ โตโยดะ เป็นนายโคจิ ซาโตะ ขณะที่ในเดือนเมษายนนี้การแถลงการณ์ครั้งนี้จึงเป็นการแถลงการณ์หลังประกาศเปลี่ยนผู้บริหารในครั้งแรก
โดยนายโคจิ ซาโตะ กล่าวว่า จะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยใช้แนวคิด “EV First” มาใช้ตั้งแต่การผลิต การจำหน่ายและการให้บริการ” และแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการ ปรับการดำเนินธุรกิจโดยใช้ EV เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งรวมถึงแบตเตอรี่และซอฟต์แวร์ ฯลฯ นอกจากนี้ จะทบทวนต้นทุนการผลิต EV ที่มีต้นทุนสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาและจะแถลงการณ์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์หลังเข้ารับตำแหน่งในเดือนเมษายน 2566
ทั้งนี้ การวางตำแหน่งรถยนต์ LEXUS ให้เป็น EV เนื่องจาก LEXUS เป็นแบรนด์รถยนต์ไฮเอนด์ที่มีราคาสูง จึงมองว่าจะสามารถรองรับต้นทุนแบตเตอรี่ที่สูงได้ดีกว่า รถยนต์ EV ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ประเทศในกลุ่มทวีปยุโรป และอเมริกา ไม่ว่า Tesla หรือ BYD ซึ่งเป็นแบรนด์รถยนต์ EV ชั้นนำของโลก ต่างก็ใช้แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ EV และประกอบในโรงงานสำหรับรถยนต์ EV โดยเฉพาะเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน โตโยต้าจึงจำเป็นต้องพิจารณาแต่ตั้งพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบไปจนถึงการผลิต EV ใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ นายโคจิ ซาโตะ ยังได้กล่าวว่า “ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหันสู่ EV อย่างเร่งด่วน” ตลาดของแต่ละประเทศแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และยังจำเป็นต้องรองรับเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า จึงยังคงนโยบายเดิมเพื่อพัฒนารถยนต์ประเภทไฮบริด (HV) รถยนต์EV และรถยนต์ที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง (FCV) ต่อไปนอกจากนี้ นายโคจิ ซาโตะ ยังได้ประกาศคณะผู้บริหารใหม่ที่จะเข้ามาบริหารตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 โดยรองประธานปัจจุบันจะออกจากตำแหน่งทั้ง 3 ท่าน
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว โตโยต้าได้เปิดตัว bZ4X ซึ่งเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวรุ่นแรกที่ใช้แพลตฟอร์มเฉพาะโตโยต้าตั้งใจที่จะใช้แพลตฟอร์มเดียวกันนี้กับรถ EV รุ่นอื่นๆ ในอนาคต แพลตฟอร์มสำหรับ bZ4X จะใช้คุณลักษณะร่วมกันกับที่ใช้กับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินหรือรถยนต์ไฮบริดเป็นผลให้มีรูปร่างที่ซับซ้อนและมีพื้นผิวที่ไม่เรียบซึ่งสามารถติดตั้งบล็อกเครื่องยนต์ได้แพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าต้นทุนสำหรับแพลตฟอร์มรถยนต์ EV อย่างเดียวของ Tesla
ด้วยเหตุผลนี้ โตโยต้า อาจตัดสินใจว่าไม่สามารถสร้างผลกำไรที่ดีกับรถยนต์ไฟฟ้าหรือแข่งขันกับ Tesla ได้หากยังใช้แพลตฟอร์มรถยนต์ต่อไป ดังนั้นจึงตัดสินใจออกแบบใหม่ตั้งแต่ต้น ขณะที่แพลตฟอร์ม EV-only ใหม่จะแบนราบเหมือนสเก็ตบอร์ด เนื่องจากจะไม่มีการติดตั้งเครื่องยนต์โดยตรงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิต EV จำนวนมาก ซึ่งช่วยลดต้นทุนในกระบวนการและพื้นผิวที่เรียบช่วยให้นักออกแบบมีทางเลือกมากขึ้นในการติดตั้งแบตเตอรี่ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มรถสำหรับ bZ4X