สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี และธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ SMBC ร่วมกันลงนามบันทึกเข้าใจ (MOU) สร้างความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการลงทุนจากนักลงทุนเป้าหมายสัญชาติญี่ปุ่นในพื้นที่ อีอีซี และเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
- LOGISTIC
‘อธิรัฐ’ ไขลานแหลมฉบัง เฟส 3 ชี้ก่อสร้างอืดจากปัญหาโควิด-19 พร้อมมอบนโยบายท่าเรือเตรียมพร้อมรับ EEC ปี 68
นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 พร้อมมอบนโยบายการท่าเรือแหลมฉบัง โดยมี นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย นายบัณฑิต สาครวิศวะ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 1 อาคารบริหารท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2565 วันพุธที่ โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน การประชุมฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดที่สำคัญ เช่น การผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ขับเคลื่อนเทคโนโลยีการแพทย์ชั้นสูง และการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับในพื้นที่อีอีซี
สกพอ. เร่งแผนการลงทุนระยะ 2 (ปี 2565 – 2569) เดินหน้าสานความร่วมมือนานาชาติ ถกผู้แทนทูตฮังการี และรัสเซีย จูงใจผู้ประกอบการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี ล่าสุดเชิญประธานาธิบดีรัสเซีย เยี่ยมชมโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi
โครงการ EEC ทำให้มีชาวต่างชาติสนใจซื้อหรือเช่าบ้านหรือคอนโดในบริเวณนี้มากขึ้น เนื่องจากบริษัทจากต่างประเทศมาลงทุนใน EEC กันมากขึ้น และนายจ้างหรือพนักงานต่างชาติที่เดินทางมาทำงานในประเทศไทยจึงต้องการที่อยู่อาศัย นี่ยังไม่รวมถึงชาวต่างชาติที่ต้องการใช้ชีวิตในวัยเกษียณในเขตนี้ด้วย
โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) นับเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้ง 3 จังหวัดอันประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ไปสู่ความสำเร็จ ที่ผ่านมา EEC มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงการเดินทางทั้งทางอากาศ ทางบก ทางราง ทางน้ำ แบบไร้รอยต่อ
“การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบราง ไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็จะต้องลงทุน เพราะถือเป็นการพัฒนาประเทศ และอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันประชาชนเริ่มหันมาใช้ระบบรางในการเดินทางมากขึ้นแล้ว”