ที่ผ่านมาคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการขนส่งทางน้ำ เชื่อมกับการขนส่งทางถนนและระบบราง แนวทางดำเนินการจะมีการพัฒนาท่าเรือหลัก ๆ เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งในภูมิภาค
อาทิ การให้กรมเจ้าท่าพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำเพื่อแก้ปัญหาการจราจร และลดต้นทุนการขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แผนการพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางทางบกกับแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ 29 ท่า ดังนี้
ระยะที่ 1 การพัฒนาท่าเรือริมเจ้าพระยารวม 5 ท่า ได้แก่ ท่าเรือสาทร ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือท่าเตียน ท่าเรือกรมเจ้าท่า และท่าเรือราชินี ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2562-2563
ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2564-2565 พัฒนาท่าเรือจำนวน 14 ท่า
ระยะที่ 3 ระหว่างปี 2565-2566 พัฒนาท่าเรือจำนวน 1 ท่า จากนั้นจะพัฒนาเป็น Smart Pier ภายในปี 2565
โดยจะปรับแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี เพื่อรองรับการพัฒนาและการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ และจัดหาเอกชนเข้าบริหารท่าเรือ โดยกรมเจ้าท่าจะกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการดำเนินการ มีระบบควบคุมเรือ-ท่าเรือ กรมเจ้าท่าจะศึกษาระบบภายในปี 2564 จากนั้นจะมีการติดตั้งระบบในปีงบประมาณ 2565
ขณะเดียวกันก็มีแผนพัฒนาเส้นทางขนส่งและการคมนาคมทางเรือในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยจะเชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำระหว่างพื้นที่ทางฝั่งอ่าวไทย กับฝั่งอันดามัน มัน ดังนี้
1.แผนพัฒนาส่งเสริมการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสัก
-โครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาปรับปรุงท่าเรือ ของภาคเอกชนโดยเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด การจัดสร้างเขื่อนยกระดับน้ำ จะของบประมาณในการก่อสร้างระหว่างปี 2566-2569 การขุดลอกร่องน้ำ และเขื่อน แม่น้ำป่าสัก
-ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง อาทิ ระบบ GPS, Tracking,Radar,การบริหารจัดการข้อมูล
-กรมเจ้าท่าการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เพื่อ ยกระดับสะพาน เขื่อนทดน้ำ ฟลัดเวย์บางบาล-บางไทร
-การกำหนดมาตรการในการควบคุมเรือและขนาดเรือ
2.การพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสินค้าท่าเรือแหลมฉบัง-บางสะพาน ตามแผนจะมีการพัฒนาท่าเรือเอกชนที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวนคีรีขันธ์ และท่าเรือแหลมฉบัง-ศรีราชา ฮาร์เบอร์
3.การเชื่อมโยงภาคใต้ตอนล่าง(ท่าเรือสงขลา 2 และท่าเรือฝั่งอันดามัน)
4.การพัฒนาท่าเรือระนอง ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการการขุดลอกร่องน้ำ การเชื่อมโยงระหว่างฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตาว่า ภายใต้โครงการทั้งหมด แม้โจทย์จะเป็นการแก้ปัญหาด้านการจราจรและการขนส่ง ทว่าผลพลอยคือ ย่านดังกล่าวจะกลายเป็นทำเลทองที่นักลงทุนต่างหมายตาอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะเกิดเป็นย่านการเดินทางการค้าใหม่ในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งโครงการด้านการพัฒนาท่าเรือและการขนส่งทางเรือยังเป็นตัวเร่งด้านการลงทุนอีกด้วย
ก็หวังว่าภายใต้โครงการสวยหรูเหล่านี้จะบังเกิดผลเป็นรูปธรรม