รัฐบาลกัมพูชาแสดงความมุ่งมั่นอย่าง เต็มที่ในการส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ที่คาดว่าจะแพร่หลายขึ้น มากในอนาคต โดยที่ผ่านมากระทรวงโยธาธิการ และการขนส่ง ได้เร่งการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า และอยู่ระหว่างหามาตรการต่างๆ และ ความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทจากสหรัฐอเมริกาในการดึงดูดให้เข้ามาลงทุนในสถานีชาร์จฯ ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลฯ ได้มีความพยายามที่จะอธิบายให้ประชาชนทราบถึงประโยชน์มากมายจากการใช้ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะความประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชน
ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการฯ ระบุว่า การชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายเพียง 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 100 กิโลเมตร เมื่อเทียบกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องจ่ายมากกว่า 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 100 กิโลเมตร นอกจากนี้ กระแสความต้องการใช้พลังงานสะอาดเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ จึงได้สนับสนุนให้ประชากรหันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
นาย Sun Chanthol รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ได้แสดงความภาคภูมิใจ ในการเติบโตของการจดทะเบียนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของกัมพูชาเป็นอย่างมาก และหวังว่าอุตสาหกรรมนี้จะ เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต อย่างไรก็ตาม กัมพูชายังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องรีบแก้ไข โดยเฉพาะ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุน EV ได้แก่ 1) การให้บริการเปลี่ยนเครื่องและซ้อมบำรุงรถยนต์ 2) พนักงานที่มีเชี่ยวชาญและความสามารถในการจัดเก็บแบตเตอรี่ และ 3) ความพร้อมให้การเปิดใช้งานของ สถานีชาร์จไฟฟ้า

ดังนั้น เพื่อเป็นการผลักดันการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้เพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ กระทรวงโยธาธิการฯ จึงได้มีความพยายามที่จะเพิ่มสถานีชาร์จฯ ทั่วประเทศ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันราย ใหญ่ต่างๆ พิจารณาติดตั้งสถานีชาร์จฯ ควบคู่กันไปด้วย ปัจจุบันกัมพูชามีสถานีชาร์จฯ 10 แห่ง ในกรุงพนมเปญ และอีก 2 แห่ง อยู่บนทางด่วนพนมเปญ – จังหวัดพระสีหนุที่กำลังจะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะเปิดสถานีชาร์จฯ ในถนนสายหลัก ของประเทศอีกมากมาย โดยเฉพาะบนถนนแห่งชาติ หมายเลข 1 6 และ 7
ข้อมูลที่น่าสนใจ
1) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้ประกาศว่าจะห้ามการจำหน่าย รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ปี 2578 เป็นต้นไป ดังนั้น ในอนาคตรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในตลาดยุโรปจะเป็น รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่านั้น
2) อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ EV ของกัมพูชาขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 63 ในขณะที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะถูกเก็บภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ยร้อยละ 120
3) ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว พบว่า กัมพูชาตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มี ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 โดยจะต้องทำให้ประชาชนใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้มีสัดส่วนอยู่ ที่ร้อยละ 40 และรถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้าร้อยละ 70 4) ข้อมูลของกระทรวงโยธาธิการฯ ระบุว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 มีการจดทะเบียนรถยนต์ พลังงานไฟฟ้า 84 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 800 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมเปญ ประเทศกัมพูชา วิเคราะห์เรื่องนี้ว่า ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติธรรมชาติเริ่มเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ทำ ให้กระแสอนุรักษ์ในกัมพูชาที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในอนาคตรัฐบาลกัมพูชาอาจพิจารณาให้มีมาตรการทาง ทางการค้าและการลงทุนต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถ EV แต่ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือการลดภาษี การนำเข้าฯ จากต่างประเทศ ผู้ประกอบการรายใหญ่ และรายย่อยของไทยที่มีศักยภาพในการผลิตรถจักรยานยนต์/รถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาส่งออก หรือเข้ามาลงทุนในตลาดกัมพูชา เนื่องจากที่ผ่านมา รถจักรยานต์/รถยนต์ที่ผลิตในไทยถือว่าได้รับความนิยมสูงในกัมพูชามาโดยตลอด จึงอาจใช้ผลประโยชน์จาก ความชอบรถฯ ที่ผลิตในไทยนี้มาเชื่อมกับรถฯ ไฟฟ้าเพื่อส่งออกมายังกัมพูชาก็ได้
แหล่งที่มา: Phnom Penh Post
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมเปญ ประเทศกัมพูชา