ท่าเรือ Tuas ของสิงคโปร์ จะกลายเป็นท่าเรือขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก เมื่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2583 จะช่วยเพิ่มศักยภาพของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางขนส่งทางเรือของโลก สามารถรองรับตู้ขนส่งได้ 65 ล้านตู้ต่อปี และได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยลดต้นทุนโดยรวมด้านโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินงาน
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ ( Immigration and Checkpoints Authority : ICA) ได้ เปลี่ยนแปลงกระบวนการตรวจสอบสินค้าแบบใหม่ (New Clearance Concept Cargo : NCC Cargo) ผ่านระบบอัตโนมัติและการดำเนินการตรวจปล่อยแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อให้การตรวจปล่อยสินค้าเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยในเดือนตุลาคม 2564 ICA ได้ริเริ่มโครงการ On-the-Fly Clearance มาทดลองใช้ที่ท่าเรือ Tuas โดยการนำระบบคัดกรองสินค้าเคลื่อนที่ (Mobile Cargo Screening System : Mobile CASS) ที่มาอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าได้ โดย คนขับไม่ต้องรอบริเวณพื้นที่เก็บสินค้า (Holding Area) เพื่อรอรับผลสแกนภาพ สินค้า เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยคนขับลด เวลารอจาก 14-20 นาที เหลือเพียง 3-5 นาที
โครงการริเริ่มนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับท่าเรือ Tuas เพื่อรองรับ ปริมาณตู้สินค้าที่มากขึ้นในอนาคต และจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้สิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางการค้าระดับโลก

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน สิงคโปร์สามารถรองรับจัดการ ตู้ขนส่งสินค้าขนาด 20 ฟุต จำนวน 50 ล้านตู้ต่อปี จากการดำเนินงานของท่าเรือต่างๆ ได้แก่ ท่าเรือ Tanjong Pagar, Keppel, Brani และ Pasir Panjang โดยมีการคาดว่า เมื่อท่าเรือ Tuas สามารถดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2583 สิงคโปร์จะสามารถรองรับตู้ขนส่งได้เพิ่มขึ้น 30% คิดเป็นจำนวน 65 ล้านตู้ต่อปี
ทั้งนี้ โครงการ On-the-Fly Clearance ได้นำ เทคโนโลยีระบบคัดกรองสินค้าเคลื่อนที่มาใช้เพื่อให้กระบวนการตรวจปล่อย สินค้าเร็วขึ้น โดยในปัจจุบัน หลังจาก ท่าเรือทำการโหลดตู้สินค้าจากเรือขนส่ง คนขับจะไปรับตู้ที่ลานรับตู้หนัก จากนั้น คนขับนำตู้ไปผ่านระบบสแกนภาพด้วยรังสี (Radiographic Scanning Portal :RSP) และนั่งรอบริเวณพื้นที่เก็บสินค้า (Holding Area) เพื่อรอผลจากเจ้าหน้าที่ ICA วิเคราะห์ภาพสแกนสินค้าว่ามีความ ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 14-20 นาที
แต่ที่ท่าเรือ Tuas หลังจากโหลดตู้สินค้าแล้วคนขับสามารถขับผ่านระบบสแกนภาพด้วยรังสี จากนั้น เจ้าหน้าที่ ICA วิเคราะห์ภาพสแกน และตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตออกสินค้า และเอกสารประกอบการขนส่งแบบดิจิทัลผ่านระบบคัดกรองสินค้าเคลื่อนที่ ในขณะที่คนขับขับไปยังประตูทางออกระหว่างทางคนขับจะได้รับแจ้งผลการสแกนและใบอนุญาตดิจิทัลผ่ าน Mobile Data Terminal 1
แต่หากสินค้ามีความผิดปกติ คนขับจะขับไปยังจุดตรวจสอบสินค้าที่อยู่ใกล้ประตูทางออกเพื่อทำการตรวจสอบเพิ่มเติม และเมื่อเทียบกับกระบวนการ ปัจจุบัน กระบวนการนี้จะใช้เวลาเพียง 3-5 นาที เท่านั้น

นอกจากนี้ ท่าเรือ Tuas จะเริ่มให้การตรวจปล่อยสินค้าแบบดั้งเดิม (Conventional Cargo)2 ดำเนิน พิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร โดยคนขับจะส่งหมายเลขป้ายทะเบียนรถและหมายเลขใบอนุญาตที่ เกี่ยวข้องผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (SG Arrival Card E-Service) ก่อนที่สินค้าจะมาถึงจุดตรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่ ICA จะตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดข้อมูลเพื่อทำการตรวจปล่อยสินค้า จากเดิม ในปัจจุบัน คนขับจะต้องแสดงสำเนาใบอนุญาตและเอกสารประกอบที่จุดตรวจ โดยเจ้าหน้าที่ ICA จะทำการสแกนบาร์โค้ดของใบอนุญาตแต่ละฉบับเพื่อดึงข้อมูลสินค้าและตรวจสอบความถูกต้อง
ในขณะเดียวกัน ท่าเรือสิงคโปร์ได้พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยจัดการระบบข้อมูลและเคลื่อนย้ายตู้อย่างมี ประสิทธิภาพและรวดเร็ว นอกจากโครงการ On-the-Fly Clearance, Mobile CASS แล้ว ท่าเรือสิงคโปร์จะนำเทคโนโลยี AI มาช่วยเจ้าหน้าที่ ICA วิเคราะห์สแกนภาพในการตรวจหาสิ่งผิดปกติในภาพสินค้า พัสดุ อีกด้วย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์