นิติ อายอก (NITI Aayog) สถาบันคลังสมองของรัฐบาลอินเดีย ร่วมกับรัฐบาลอินเดีย เดินหน้าส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยสถาบันฯ เชื่อว่าหลังจากปี 2030 จะมีเพียงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเท่านั้นที่มีขายภายในประเทศ
ความคิดริเริ่มในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาวิกฤตมลพิษทางอากาศและลดการพึ่งพาน้ำมันนำเข้า เพราะวิกฤตมลพิษทางอากาศของอินเดียหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ โดยรายงานระดับโลกด้านคุณภาพอากาศที่เผยแพร่ในปีนี้ระบุว่า 7 เมืองในประเทศอินเดียติดอันดับ 10 เมืองที่มีมลพิษสูงสุดในโลก
งานวิจัยร่วมที่จัดทำโดยสถาบันนิติ อายอกและสถาบันร็อกกี เมาต์เทน (Rocky Mountain Institute) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองบะซอลต์ รัฐโคโลราโด กล่าวว่าอินเดียจะสามารถลดปริมาณการสัญจรบนท้องถนนได้ถึงร้อยละ 64 และลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ได้ร้อยละ 37 หากใช้รถยนต์พลังงานสะอาดได้ในปี 2030
ด้านเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียต่างก็สนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า และสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคใช้งานรถยนต์ดังกล่าวด้วย อีกทั้งในเมืองไฮเดอราบัดก็กำลังนำร่องให้บริการรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนชี้ว่าผู้ผลิตรถยนต์ของอินเดียอาจต้องเผชิญความลำบากในการขยายไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพราะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง
CR ข่าว+ภาพ สำนักข่าว China Xinhua News