ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร เป็นผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งนับเป็นผู้อำนวยการ กทท. คนที่ 18 และเป็นคนในที่มาจากการคัดสรรตามขั้นตอน อทร. คนใหม่
ประวัติย่อ
ชื่อ-สกุล : เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร
อายุ : 57 ปี วัน/ เดือน/ ปีเกิด วันที่ 13 พฤศจิกายน 2504
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
: รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ
จบการศึกษา
: ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปี 2556 หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน
: ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกลเรือ จากโรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 78
เข้าทำงานที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2529
คู่สมรสชื่อ : นางอัฌนา พรหมประยูร อายุ : 55 ปี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล
จบการศึกษา
: ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2559
: ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: ปริญญาตรี อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีบุตร 1 คน ชื่อ : น.ส. พิธุนิภา พรหมประยูร อายุ : 24 ปี
จบการศึกษา
: ปริญญาตรี อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: ปัจจุบันศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในการท่าเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2546 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองบริการท่า ฝ่ายบริการท่าและเครื่องมือทุ่นแรง ท่าเรือกรุงเทพ
พ.ศ. 2547 ดำรงตำแหน่ง นักบริหาร 13 ประจำท่าเรือกรุงเทพ
พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริการท่าและเครื่องมือทุ่นแรง ท่าเรือกรุงเทพ
พ.ศ. 2550 ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 15 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ที่ท่าเรือกรุงเทพ
ตุลาคม 2551 ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ
28 ธันวาคม 2554 ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 16 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
1 ตุลาคม 2555 ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายวิศวกรรม
1 ตุลาคม 2557 –ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ
ผลงานที่สำคัญ
- พัฒนาการดำเนินโครงการ e-port Service ด้วยการใช้ CTMS และ VCMS CCTV E-gate และ E-TOLL มาใช้ในงานของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง
- บริหารจัดการการใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในท่าเรือกรุงเทพและจัดให้มีศูนย์ปลอดภัยคมนาคม กทท. เป็นครั้งแรก
- แก้ไขปัญหาการใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window – NSW) กับกรมศุลกากร ในการเชื่อมข้อมูล e-Manifest ให้สามารถใช้งานได้ตามกำหนดเวลาของกรมศุลกากรซึ่งขณะนั้นงาน ระบบ e-Customของท่าเรือกรุงเทพที่เช่าใช้งานสำหรับ NSW ในปี 2551 จากบริษัทมีปัญหาการฟ้องร้องเป็นคดีในชั้นศาล ณ ปัจจุบัน
- บริหารจัดการโครงการจัดหาเรือขุดลอก กทท. ให้มีเรือขุดแบบ Clutter Dredger มาใช้งานเพิ่มประสิทธิภาพ ในการขุดลอกหน้าท่าของท่าเรือกรุงเทพ
- เจรจาความร่วมมือกับท่าเรือต่างประเทศเช่นรัฐบาลท้องถิ่นแคว้นสิบสองปันนาของสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมกับท่าเรือกวนเหล่ยให้มีการขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์อาหารไก่แช่แข็งในลำน้ำโขงซึ่งได้มีการเปิดเดินเรือเที่ยวปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 เป็นผลสำเร็จ
- วางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพของท่าเรือระนองให้สามารถรับเรือขนาดใหญ่ได้พร้อมกัน 2 ท่าเทียบเรือรับเรือขนาด 1,000 DWT. เป็น 12,000 DWT และคราวประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ชุมพรเพื่อพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพท่าเรือระนองขยายขีดความสามารถรองรับตู้สินค้าสูงจาก 70,800 TEUs/ปี เป็น 500,000 TEUs/ปี โดยสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ใหม่ 1 ท่า และขยายพื้นที่วางตู้หลังท่าอีก 75,000 ตารางเมตร ระหว่าง Jetty และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคม 2561
- เป็นรองประธานคณะทำงานการเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีของ International Maritime Organization (IMO) ร่วมรณรงค์หาเสียงกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านเอกอัครราชทูตประจำกรุงลอนดอน อธิบดีกรมเจ้าท่า และรักษาการแทนผู้อำนวยการ กทท. จนได้รับการโหวตจากประเทศสมาชิกฯ ให้ประเทศไทย ได้เป็นสมาชิกสมัชชา IMO ในกลุ่ม C ซึ่งมีจำนวนประเทศที่เป็นสมาชิกได้จำนวน 20 ประเทศ มีประเทศ ที่สมัครจำนวน 25 ประเทศ และประเทศไทยได้รับการลงคะแนนเสียงได้เป็นลำดับที่ 16
- เป็นหัวหน้าคณะทำงานประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ (Cruise Tourism) และทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการที่จะกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ
การประชุม/สัมมนาที่สำคัญ
- ประชุมเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้า ณ ด่านสิงขร จังหวัดมะริด สหภาพเมียนมาร์
- เดินทางเข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยและท่าเรือปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี
- เข้าร่วมการประชุม Joint Working Group ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือปูซานและบริษัทที่ปรึกษาโครงการพัฒนาท่าเรือปูซาน
- โครงการศึกษาการพัฒนาธุรกิจในท่าเรือที่เกี่ยวเนื่องภายใต้โครงการ iPas ศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
- การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเล ครั้งที่ 98 ณ สำนักงานใหญ่ IMO กรุงลอนดอนสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรสวีเดน และราชอาณาจักรเดนมาร์ก
- การตรวจราชการการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและระบบการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทางถนนและศึกษาดูงานเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านแดน สหภาพเมียนมาร์
- เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนท่าเรือไทยในการประชุมสมาคมท่าเรืออาเซียน (Asean Ports Association : APA) ระหว่างปี 2557-2559
- เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียน ASEAN Senior Transport Officials Meeting : STOM) และรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ASEAN Transport Ministers : ATM) ระหว่างปี 2557-2559
- ศึกษาดูงานหลักสูตรผู้นำ 4.0 ด้วยต้นแบบนวัตกรรมการบริหารประเทศ คลัง 4.0 ประเทศญี่ปุ่น
- เดินทางไปปฏิบัติงานตามแผนการส่งเสริมการใช้บริการท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ท่าเรือกวนเหล่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน
- เดินทางไปเข้าร่วมงาน Seatrade Cruise Global 2018 ณ เมือง Fort Lauderdale เมืองฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
- การประชุม International Conference on Inland Water Transport ณ เมือง Wroclaw สาธารณรัฐโปแลนด์
กิจกรรมสาธารณประโยชน์
- เป็นประธานกรรมการบริหารการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาเปตอง “ท่าเรือโอเพ่น” เพื่อสืบสานปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและการดำเนินการเชิงรุกกีฬาเปตองของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- เป็นประธานที่ปรึกษาบริหารการดำเนินการสร้างฝายประชารัฐของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- เป็นประธานกรรมการกีฬากอล์ฟการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- ส่งเสริมโครงการกีฬาชุมชนสามัคคีต่อต้านยาเสพติดในพื้นที่โดยรอบการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- ส่งเสริมโครงการมอบอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาล
- ส่งเสริมโครงการการอบรมวิชาชีพให้แก่ผู้ยากไร้เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ที่มีสถานะทางสังคมที่ด้อยโอกาส