อุตสาหกรรมเรือสำราญของสิงคโปร์กำลังฟื้นตัวหลังจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในปี 2565 ผู้โดยสารจำนวน 1.5 ล้านคน ได้เดินทางมาใช้งานท่าเรือของสิงคโปร์ แต่จำนวนดังกล่าวคิดเป็นประมาณสองในสามของตัวเลขในปี 2562 ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารเรือสำราญประมาณ 1.8 ล้านคน ซึ่งอุตสาหกรรมนี้คิดเป็นมูลค่า 630 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ สิงคโปร์ โดย 350 ล้านเหรียญสิงคโปร์มาจากการซ่อมแซมเรือ สำราญ เติมน้ำมัน และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ ในปี 2565
Singapore Tourism Board (STB) คาดว่า อุตสาหกรรมเรือสำราญของสิงคโปร์จะปรับตัวกลับสู่ระดับก่อนการเกิดโรคระบาดได้ในปี 2566-2567 ข้อมูลจาก Statista คาดว่า รายรับจากเรือสำราญของสิงคโปร์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 288.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจำนวนผู้เดินทางจะสูงถึง 436,000 คน ภายในปี 2570 ตั้งแต่ปี 2568 สิงคโปร์จะเป็นท่าเรือต้นทางให้กับเรือสำราญดิสนีย์และมาร์เวล โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือ 5 ปีระหว่าง STB และ Disney Cruise Line หลังจากเจรจามาหลายปี และเริ่มเข้าสู่ระดับสูงในปี 2565
STB กล่าวว่า การเป็นหุ้นส่วนกับ Disney Cruise Line จะช่วยเพิ่มรายได้ ให้กับอุตสาหกรรมเรือสำราญและรายรับจากการท่องเที่ยวและ GDP ของประเทศ และคาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารเรือสำราญ ทั้งในและต่างประเทศหลายล้านคนที่จะมาใช้บริการในช่วง ระยะเวลาห้าปี ซึ่งรวมไปถึงผู้โดยสารเรือสำราญที่เดินทางมายัง สิงคโปร์โดยเครื่องบินการตัดสินใจของดิสนีย์ให้สิงคโปร์เป็นท่าเรือต้นทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวโดยเรือของภูมิภาคฯ นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังสามารถทำหน้าที่เป็นประตูสู่ประเทศ ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Cruise Lines International Association ระบุว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีเรือสำราญเข้าเทียบท่าจำนวน 550 ลำ ยอดนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือสำราญสูงถึง 600,000 คนต่อปี การสร้างความร่วมมือกับสายการเดินเรือ สำราญในการพัฒนาท่าเรือสำราญจะทำให้ประเทศไทยสามารถ เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ นักท่องเที่ยว จากเรือสำราญมักจะเป็นนักท่องเที่ยวมีคุณภาพและมีการใช้จ่าย ที่สูง จึงจะเป็นการช่วยส่งเสริมรายได้จากท่องเที่ยวให้กับ ประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร