อิหร่านมีทําเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีพรมแดนติดต่อทั้งทางบกและทางทะเลกับหลากหลายประเทศ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางการเดินเรือที่สําคัญและอยู่กึ่งกลางระหวางภูมิภาคเอเชียตะวันตกและเอเชียตะวันออกทําให้อิหร่านเปนประเทศเดียวที่มีเส้นทางการขนส่งเชื่อมต่อจากอ่าวเปอร์เซียไปยังกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียกลางที่ไม่มีพรมแดนติดทะเลได้
โดยเส้นทางนี้จะผ่านแนวระเบียงขนส่งเหนือ-ใต้ หรือ North–South Transport Corridor ที่เริ่มจากนครมุมไบของอินเดียไปสิ้นสุดที่กรุงมอสโควของรัสเซีย ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุดและสั้นที่สุดสําหรับประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เช่น อัฟกานิสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน และคาซัคสถาน เป็นต้น
อิหร่านมีท่าเรือชาบาฮาร์ซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยูใกลกับน่านน้ําเปิดทําให้สะดวกในการเข้าถึง มหาสมุทรอินเดียและน่านน้ำสากล ส่งผลให้ท่าเรือแห่งนี้เป็นทำเรือที่มีความสําคัญสูงสุดทางการค้าระหว่างประเทศของอิหร่าน เพราะนอกจากจะเป็นท่าเรือสากลแล้วยังเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าผ่านแดนให้กับอินเดียและประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่นๆ ในการนําเข้า-ส่งออกสินค้ากับภูมิภาคเอเชียกลาง CIS และรัสเซีย

ทั้งนี้ ท่าเรือชาบาฮาร์เป็นทาเรือเพียงแห่งเดียวของอิหร่านที่ได้รับการยกเว้นการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปเพื่อรักษาพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียกลาง ด้วยเหตุนี้อินเดียจึงคาดหวังว่าจะใช้ท่าเรือแห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการขนส่งสินค้าของตนไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลก โดยอินเดียได้ตั้งเป้าหมายการเป็นหนึ่งในประเทศมหาอํานาจด้านการขนส่งในระดับภูมิภาคและระดับโลกในอนาคต
ท่าเรือชาบาฮาร์เป็นท่าเรือพาณิชยขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ของอิหราน (ทาเรือบันดาร์อับบาส ท่าเรืออิหม่ามโคไมนี่ และท่าเรือชาบาฮาร์ ตั้งอยูที่เมืองชาบาฮาร์จังหวัดซิสตานและบาลูจิสถาน เมืองชาบาฮาร์เป็นเมืองท่าที่มีพื้นที่ ประมาณ 17,150 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรราวๆ 200,000 คน เป็นเมืองที่อยู่ใต้สุดของประเทศอิหร่าน ติดกับทะเลโอมาน และมีระยะทางที่ใกล้ทะเลเปิดของมหาสมุทรอินเดียมากที่สุด
ปัจจุบัน เส้นทางขนส่งสินค้าที่ประหยัดและสั้นที่สุดสําหรับประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียกลางคือเส้นทาง ขนส่งสินค้าตามระเบียงขนส่งเหนือ-ใต้ผ่านท่าเรือชาบาฮาร์ ซึ่งมีศักยภาพรองรับการขนส่งสินค้าปริมาณ 15 – 20 ล้านตันต่อปี มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่สองแห่งคือท่าชาฮิดเบเฮซติและท่าชาฮิดการันตาริโดยสินค้าที่นําเข้า-ส่งออก ผ่านท่าเรือดังกล่าวจะถูกขนถ่ายต่อไปยังเอเชียกลางหรือแม้กระทั่งยุโรปตะวันออกผ่านการขนส่งทางรถไฟและทาง ถนนอีกทอดหนึ่ง
ที่ผ่านมา อินเดียได้รับสัมปทานให้เป็นผู้บริหารจัดการท่าเรือชาบาฮาร์(มูลค่าการลงทุน 5 พันล้านเหรียญฯ) และพัฒนาโครงสร้างด้านโลจิสติกสการขนถายสินค้าผ่านเส้นทางระเบียงขนส่งเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนกับอิหราน ที่เริ่มต้นในปี 2546 ด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณหนึ่งพันล้านเหรียญฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความพร้อมของท่าเรือเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากอินเดียไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง

ปัจจุบัน อินเดียขนส่งสินค้าไปยังเอเชียกลางโดยทางบกผ่านประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นคู่แข่งสําคัญของอินเดีย ทําให้การขนส่งสินค้าในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างมีปัญหาอุปสรรคและค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น หากการพัฒนาท่าเรือชาบาฮาร์และโครงสร้างด้านโลจิสติกส์ บรรลุผลสําเร็จก็จะทําให้อินเดียสามารถเลี่ยงเส้นทางผ่านปากีสถานและสามารถสร้างเครือข่ายการค้ากับประเทศ ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียกลางและยุโรปตะวันออก รวมถึงรัสเซียได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
ทั้งนี้ อินเดียตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนท่าเรือชาบาฮาร์ ให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและเชื่อมต่อกับระเบียงขนส่งระหว่างประเทศทางเหนือ–ใต้เพื่อ เข้าถึงกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ยุโรปตะวันออกและ รัสเซียในที่สุด ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งจากเดิมลงได้หนึ่งในห้าเท่าและลดระยะเวลาที่สั้นลงเกือบเท่าตัว ในขณะเดียวกันอิหร่านและประเทศเอเชียกลางต่างก็หมายมั่นที่จะใช้ท่าเรือแห่งนี้ในการส่งออก น้ํามัน ปิโตรเคมี เหล็ก และสินค้า อุตสาหกรรมอื่นๆ ไปยังตลาดโลกอีกด้วย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน