ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าเร่งขุดลอกพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง เพื่อเตรียมรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝนในการนี้ กรมเจ้าท่า โดยสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 7 ได้เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกและกำจัดวัชพืช 6 พื้นที่ ได้แก่
1.หน่วยขุดลอกแม่น้ำจาง ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ดำเนินการขุดลอก โดยรถขุด ชม.14 เรือเจ้าท่าข.412 ระยะทาง 850 เมตร ความกว้างร่องน้ำ 50 – 80 เมตร ปริมาณวัชพืชและวัสดุขุดลอก 20,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกช่วง กม.13 + 790 ถึง 13 + 940 พร้อมปรับสภาพร่องน้ำ ปรับแต่งภูมิทัศน์ ระยะทางที่แล้วเสร็จสะสม 590 เมตร สามารถรองรับน้ำดิบสนับสนุนสถานีสูบน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 3 สถานี ระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก มีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค แก้ปัญหาวัชพืชปกคลุมผิวน้ำทำให้น้ำเน่าเสีย ฟื้นฟูระบบนิเวศของแม่น้ำจางและการกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอกและกำจัดวัชพืช 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน พื้นที่เกษตรกรรม 1,800 ไร่ ประมาณ 500 ครัวเรือน
2.หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำวัง ตำบลบุญนาคพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ดำเนินการขุดลอก โดยรถขุดชม.8 และรถขุด ชม.11 ระยะทาง 2,200 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 40 – 60 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ242.00 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 60,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกช่วง กม. 264+500 ถึง 264+000 ดำเนินการปรับแต่งตลิ่ง และวางแนวการขุดลอก ระยะทางแล้วเสร็จสะสม1,500 เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จ ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 2,050 ครัวเรือนพื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 2,200 ไร่
3.หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำลาว ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ดำเนินการขุดลอก โดยรถขุดชม.12 ระยะทาง 2,600 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 35 – 60 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 459.50 ถึง 463.00 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอก 48,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกช่วง กม. 97+900 ถึง 98+780 ดำเนินการปรับแต่งตลิ่ง ระยะทางแล้วเสร็จสะสม 1,600 เมตร ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการขุดลอก ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 142 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 710 ไร่
4.หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำกก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ดำเนินการขุดลอก โดยรถขุดชม.10 ความกว้างก้นร่องน้ำ 10 – 30 เมตร ระยะทาง 500 เมตร ระดับขุดลอก ก้นร่องเท่ากับ 378.50 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 16,500 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอก ช่วง กม. 66+000 ถึง 66+450 ระยะทางแล้วเสร็จสะสม 200 เมตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอกประมาณ 850 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 1,000 ไร่
5.หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำน่าน ตำบลพระพุทธบาท และตำบล เชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ดำเนินการขุดลอก โดยรถขุด ชม.7 และรถขุด ชม.13 ระยะทาง 3,350 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 25 – 50 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 243.50 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 60,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการ ขุดลอกช่วง กม. 1 + 000 ถึง กม. 3 + 000 ระยะทางแล้วเสร็จสะสม 1,900 เมตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการ ขุดลอก ประมาณ 1,150 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 2,000 ไร่
6.หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำแม่แตง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการขุดลอก โดยรถขุด ชม.9 ความกว้างก้นร่องน้ำ 30 – 40 เมตร ระยะทาง 2,750 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 325.00 – 329.00 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอก 48,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกช่วง กม. 0 + 450 ถึง 0 + 850 ระยะทางแล้วเสร็จสะสม 1,900 เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จ ประชาชน ในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 400 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 300 ไร่
ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้เร่งขุดลอกตามแผนงาน เพื่อให้ร่องน้ำมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับน้ำ ในฤดูน้ำหลาก แก้ไขปัญหากระแสน้ำกัดเซาะตลิ่ง ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร อีกทั้งเตรียมพร้อมบุคลากรยานพาหนะ เพื่อเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย