สปป.ลาว สนับสนุนให้ใช้รถไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ให้มากขึ้น เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่จำเป็น ซึ่งในระยะหลัง สปป.ลาว ประสบปัญหาการนำเข้าน้ำมัน ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงใช้
สปป.ลาว
เขตเศรษฐกิจพิเศษสีทันดอน ตั้งอยู่ทางลาวใต้ ได้เริ่มการก่อสร้างหลักๆ สองโครงการ ภายหลังจากการสำรวจพื้นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหนึ่งในโครงการพัฒนา ได้แก่ การก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ริมแม่น้้าโขง และน้้าตกคอนพะเพ็ง โดยรูปทรงโรงแรมจะเป็นรูปแคนคู่ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจ้าชาติลาว
กระทรวงแผนการและการลงทุนเป็นผู้แทนรัฐบาล สปป.ลาว ลงนามมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินในโครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองนาหม้อ แขวงอุดมไซ ในพื้นที่กว่า 3,150 เฮกตาร์ (19,687.5 ไร่ ) ให้กับบริษัทอมตะ ซิตี้ ลาว จำกัด
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำคณะผู้แทนไทยเยี่ยมชมเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อศึกษาถึงแนวทางการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยและ สปป.ลาว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและไร้รอยต่อ
โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ยังคงดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่อง ปัจจุบัน โดยโครงการก่อสร้าง สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บอลิคำไซ-บึงกาฬ) ซึ่งมีความคืบหน้าต่อเนื่อง หากการก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่กำหนดจะสามารถเชื่อมโยงทั้งสองฝั่งภายในสิ้นปี 2566 นี้
- AEC
สปป.ลาว สร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไซเสดถา ตามแผนพัฒนาเมืองใหม่รองรับเศรษฐกิจโต
โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาและขยายตัวเมืองใหม่ตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมของนครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด ได้รับมอบหมายและอนุญาตจากภาครัฐ
ภายหลังได้มีการทดสอบการบินสนามบินสากนบ่อแก้วเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาโดยสายการบิน Lao Airlines และสายการบิน Lao Skyway ซึ่งได้ทำการทดสอบครอบคลุมการบินทุกๆด้าน ได้แก่ ระบบการสื่อสาร การ Take-off และสิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ ของเครื่องบิน ล่าสุด สนามบินสากลบ่อแก้ว ประกาศความพร้อมเปิดให้บริการเดือนมีนาคม 2565
สปป.ลาวในวันนี้ก็ไม่ใช่ ‘บักหำน้อยในเวทีอาเซียน’ ที่เป็นเพียงเมืองผ่าน หรือดินแดนแลนด์ล็อคอีกต่อไป แต่ลาวกำลังเป็น ‘แลนลิงค์’ ภารกิจที่เราเคยยิ้มมุมปากว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไรกับประเทศที่มีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาวยังเป็นประเทศยากจนในสายตาของประชาคมโลก
จากการเปิด ‘เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาว’ หรือเส้นทางรถไฟ ‘ล้านช้าง’ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้ทำการมาเป็นเวลากว่า 1 เดือน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด เส้นทางรถไฟสายนี้รองรับผู้โดยสารไปแล้วกว่า 670,000 คน มีสินค้าขนส่งผ่านเส้นทางนี้รวมแล้วกว่า 170,000 ตัน
ขบวนรถไฟจีน-ลาวเที่ยวปฐมฤกษ์จากสถานีต้นทางของแต่ละประเทศ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 16.45 น. ขบวนรถไฟความเร็วสูงรุ่นฟู่ซิง ขบวน C3 ซึ่งเป็นรถไฟขบวนปฐมฤกษ์เที่ยวพิเศษ บรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ก็ได้เคลื่อนตัวออกจากสถานีคุนหมิงไปยังปลายทางสถานีโม่ฮาน