นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตาม พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ในระว่างทุกฝ่ายร่วมกันอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ทุกอย่างต้องมีต้นทุน ทั้งการหยุดกิจการ ขาดรายได้ รัฐบาลจึงใช้เงินเยียวยาให้กับกลุ่มต่างๆ ประมาณ 5.5 แสนล้านบาท ดังนั้นหลังจากปัญหาการแพร่ระบาดคลี่คลายลง ในช่วง 3-6 เดือน ต้องหันมาเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ วงเงิน 4 แสนล้านบาท จาก พ.ร.ก.เงินกู้ เพื่ออาศัยจังหวะนี้พัฒนาท้องถิ่นในต่างจังหวัด
เตรียมเปิดให้ส่วนราชการ รัฐวิสหากิจ หน่วยงานต่างๆ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน มูลนิธิ เสนอจัดทำโครงการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
1. การพัฒนาอาชีพเกษตรดั้งเดิม
2. การพัฒนาแหล่งน้ำรองรับภาคเกษตรในชนบท
3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวในชุมชน เตรียมรองรับการท่องเที่ยวในประเทศหลังจากโควิด-คลี่คลายลง นำไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน
4. การพัฒนาด้านการผลิต การตลาดออนไลน์ ขนส่งสินค้ากระจายจากชุมชนไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้ชุมชนหันมาเน้นทำตลาดออนไลน์มากขึ้น
5. การพัฒนาบุคคลากร จากหลายหน่วยงาน ทั้งการท่องเที่ยวฯ มหาวิทยาลัย เพื่อฝึกอบรมแรงงาน นักศึกษาจบใหม่ เพื่อให้มีงานทำ
ดังนั้น หากรัฐบาลตั้งรับปัญหาเศรษฐกิจ สร้างเงินหมุนเวียนได้ทัน ภาวะเศรษฐกิจในต้นปีหน้าจะไม่หยุดชะงักหรือเสียหายมากเกินไป และยังรองรับปัญหาได้เมื่อมีงานทำ ทุกกิจกรรมกลับมาดำเนินการได้ทั้งในเมืองและชนบท
เมื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำโครงการแล้วสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาประมาณกลางเดือน พ.ค. เมื่อเปิดให้ทุกหน่วยงานเสนอ โครงการพัฒนาท้องถิ่น คาดว่าการจัดโครงการขนาดเล็ก จะลงไปพัฒนาท้องถิ่นได้ในต้นเดือนมิถุนายน เพื่อหวังให้เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ช่วยพัฒนาชนบทให้เข้มแข็ง เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวพึ่งพาการส่งออกไม่ได้ การท่องเที่ยวไม่มีต่างชาติดินทางเข้ามา จึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศผ่านโครงการระยะสั้น หลังจาก เดือนตุลามคม 63 จะใช้งบประมาณจากภาครัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ในช่วงต่อไปผ่านเงินงบประมาณปกติของภาครัฐ