หลังศึกษาโครงการให้บริการนำส่งผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งทางรางโดยรถวงเวียน หรือ Shuttle Bus มาระยะหนึ่ง วันที่ 17 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร(กทม.) โดยสำนักการจราจรและขนส่ง ได้เปิดให้บริการระบบฟีดเดอร์ใหม่ส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนระบบหลักมากขึ้นเป็นการดำเนินการเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชนสายหลักที่จะทยอยเปิดให้บริการสมูบรณ์เกือบเต็มโครงข่ายช่วง 3-4 ปีจากนี้ไป
ประกอบด้วย สายสีน้ำเงิน หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน(MRT) ส่วนต่อขยายบางซื้อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ที่เปิดให้บริการในปี 2563 สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน กับบางซื่อ-รังสิต สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู แคราย-มีบุรี ที่จะเปิดให้บริการในปี 2564
จากนั้นปี 2565 จะเปิดให้บริการสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย รัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน และสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ศรีรัช-เมืองทองธานี และปี 2567 สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
ตามแผนที่วางไว้ กทม.จะเปิดให้บริการ Shuttle Bus เป็นระบบ Feeder ในรูปแบบรถโดยสายขนาด 36 ที่นั่ง โดยใช้เครื่องยนต์ NGV ตั้งแต่เวลา 05.00-21.00 น.ทุกวัน โดยช่วงเวลา 05.00-09.00 น. และ 16.00-21.00 น. ความถี่ในการให้บริการทุก 15 นาที ส่วนเวลา 09.00-16.00 น. ความถี่ในการให้บริการ 30 น. ต่อคัน
เส้นทางการเดินรถจะมี 3 เส้นทางหลัก
1.สายสถานีขนส่งสายใต้ใหม่-สถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT สถานีบางหว้า เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ออกถนนบรมราชชนนี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนกาญจนาภิเษก จอดรับผู้โดยสารบริเวณด้านหน้านิติบัณฑิต ก่อนเดินรถต่อไปตามถนนกาญจนาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 มุ่งหน้าไปตามถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 กลับรถใต้สะพานข้ามคลองชักพระ แล้วมุ่งหน้าไปเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนราชพฤกษ์ เดินรถต่อไปหน้าสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT สถานีบางหว้า
เส้นทางขากลับ จะกลับรถใต้สะดานยกระดับข้ามแยกบางหว้า จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณทางขึ้นลงรถไฟฟ้าฝั่งถนนราชพฤกษ์ แล้วเดินรถต่อโดยมุ่งหน้าไปตามถนนราชพฤกษ์ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 จอดรถส่งผู้โดยสารด้านหน้าตลาดดอกไม้ แล้วเดินรถต่อไปตามถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 กลับรถใต้สะพานข้ามคลองบางน้อย เดินรถต่อไปตามถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑล สาย 1 ก่อนไปเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบรมราชชนนี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง
2.เส้นทาง ดินแดง-สถานีรถไฟฟ้า BTS สนามเป้า(รอเปิดให้บริการ)
เส้นทางเดินรถเริ่มต้นจากดินแดง บริเวณตรงข้ามสำนักงานเขตดินแดง/กทม. 2 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนมิตรไมตรี แล้วซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต กลับรถบริเวณแยกดินแดง แล้วเดินรถต่อโดยมุ่งหน้าไปตามถนนวิภาวดีรังสิต จอดรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรุโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ก่อนไปเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพหลโยธิน ซอย 2 แล้วเดินรถต่อโดยมุ่งหน้าไปตามถนนพหลโยธินซอย 2 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพหลโยธิน ไปจนถึงที่จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณทางลงรถไฟฟ้าสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามเป้า
เส้นทางขากลับ จากสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามเป้า เดินรถไปตามถนนพหลโยธิน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนใต้ทางด่วน เดินรถต่อโดยมุ่งหน้าไปตามถนนใต้ทางด่วน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนอโศก-ดินแดง บริเวณข้างสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าไปตามถนนวิภาวดีรังสิต จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลทหารผ่านศึก แล้วเดินรถต่อมุ่งหน้าไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
จากนั้นไปกลับรถที่แยกสุทธิสาร ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณด้านหน้าโรงเรียนรักษาดินแลง เดินรถต่อไปตามถนนวิภาวดีรังสิต จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยหอการค้า แล้วไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนเลี้ยซ้ายเข้าถนนมิตรไมตรี โดยจอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณดินแดน ตรมข้ามสำนักงานเขตดินแดง และ กทม.2
3.เส้นทางชุมชนเคหะร่มเกล้า-สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอรต์ลิงก์ ลาดกระบัง(รอเปิดให้บริการ)
แนวเส้นทางเริ่มต้น จากชุมชนเคหะร่มเกล้า ตรงข้ามปั๊มบางจาก เดินรถมุ่งหน้าไปตามถนนเคหะร่มเกล้า จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณหน้าสวน 60 พรรษาฯ มุ่งหน้าไปตามถนนเคหะร่มเกล้า เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า มุ่งหน้าไปขึ้นสะพาน แล้วเบี่ยงซ้ายเข้าถนนร่มเกล้า เดินรถต่อมุงหน้าไปตามถนนร่มเกล้า เบี่ยงซ้ายมุ่งหน้าสู่ถนนอ่อนนุช ข้ามทางรถไฟ จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณทางเข้าสถานรรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ลาดกระบัง
ขากลับจากสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ลาดกระบัง เลี้ยวขวาเข้าถนนลาดกระบัง เดินรถต่อมุ่งหน้าไปตามถนนลาดกระบัง เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกิ่งแล้ว เบี่ยงซ้ายทางกลับรถสู่ถนนร่มเกล้า เดินรถต่อมุ่งหน้าไปตามถนนร่มเกล้า เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเคหะร่มเกล้า ไปจอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณชุมชนเคหะร่มเกล้า ตรงข้ามปั๊มบางจาก
กทม.ระบุว่า ช่วงแรกที่เปิดทดลองให้บริการจะเป็นการให้บริการฟรีโดยไม่เก็บค่าโดยสาร เป้าหมายเพือจัดเก็บข้อมูลปริมาณผู้โดยสาร พร้อมกับจัดทำแบบประเมินผลความพึงพอใจและข้อเสนอแนะ จากนั้นจะนำมาใช้สำหรับเป็นข้อมูลในการดำเนินโครงการ รวมทั้งพิจารณาขยายเส้นทางเดินรถให้ครอบคลุมการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนกรุงเทพฯ