กระทรวงคมนาคม สรุปรายงานอุทกภัยในเส้นทางคมนาคม รายละเอียด ดังนี้
1. มีโครงข่ายคมนาคมที่ได้รับผลกระทบ รวม 176 สายทาง 203 แห่ง ผ่านได้ 82 แห่ง ไม่สามารถผ่านได้ 121 แห่ง โดยสรุปแยกตามประเภทโครงข่าย ได้ดังนี้1.1 ถนนทางหลวง ได้รับผลกระทบ 28 สายทาง 40 แห่ง ผ่านได้ 15 แห่ง ไม่สามารถผ่านได้ 25 แห่ง1.2 ถนนทางหลวงชนบท ได้รับผลกระทบ 148 สายทาง 163 แห่ง ผ่านได้ 67 แห่ง ไม่สามารถผ่านได้ 96 แห่ง
2. จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 25 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูงสุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ อุบลราชธานี ได้รับผลกระทบ 24 แห่ง รองลงมา ศรีสะเกษ ได้รับผลกระทบ 22 แห่ง และสิงห์บุรี ได้รับผลกระทบ 16 แห่ง
3. บริษัท ขนส่ง จำกัด และการรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถได้ตามปกติ
4. ท่าอากาศยาน ไม่มีการรายงานการได้รับผลกระทบ
5. ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการให้บริการเดินเรือโดยสารของเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry มีการปรับตารางเวลาการให้บริการตามสถานการณ์ของระดับน้ำ
6. กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ติดตั้งป้ายเตือน/อำนวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ประชาชนในเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ
7. กรมเจ้าท่า ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 10 จุด พร้อมเจ้าหน้าที่ 63 คน เรือ 18 ลำ และรถยนต์/รถบรรทุก 20 คัน ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย รวมทั้งเฝ้าระวังระดับน้ำ/ปริมาณน้ำไหลผ่านของแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และเขื่อนอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือและประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบ
กระทรวงคมนาคม ยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบ รวมทั้งจัดบุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ ติดตั้งป้ายเตือน อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางและให้ความช่วยเหลือประชาชนได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ สามารถสอบถามเส้นทาง ข้อมูลเพิ่มเติมหรือแจ้งเหตุอุทกภัย ได้ที่
– ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
– สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
– สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
– สายด่วนบริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
– สายด่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
– สายด่วนกรมเจ้าท่า โทร. 1199





