นาย Clemens Jungsthöfel ผู้บริหารด้านการเงิน ของบริษัทประกันภัย Hannover Rück ได้ออกมาเปิดเผย ถึงความเสียหายอย่างหนักที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ และได้กล่าวถึงกรณีที่เรือเดินสมุทรขนส่งรถยนต์ในนาม Felicity Ace ได้จมลงในทะเลแอตแลนติก โดยบนเรือลำ นี้มีการบรรทุกรถยนต์จำ นวน 4,000 คัน เพื่อจะส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จึงทำ ใหบริษัท Hannover Rück ต้องจ่ายเงินค่าประกันภัยสูงถึง 14 ล้านยูโร ซึ่งปัญหาอย่างเช่น เรือล่มแล้วสินค้าสูญหาย หรือแม้กระทั่งการขนส่งที่ล่าช้า เพราะได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ในจีน รวมถึงผลกระทบจากการสู้รบระหว่างรัสเซีย – ยูเครนนั้น ล้วนแต่เป็นปัญหาที่ทำให้ธุรกิจประกันการเดินเรือระหว่างประเทศกลายเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมหาศาล
นาย Johannes Bender จากบริษัท S&P Global ได้เปิดเผยว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นในธุรกิจเดินเรือขณะนี้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก โดยหลังจากที่เรือ Ever Given ที่มีน้ำ หนักกว่า 224,000 ตัน ประสบอุบัติเหตุขวางคลองซูเอสในช่วงปีที่ผ่านมา ได้ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในทั่วโลกได้รับผลกระทบ และหลังจากนั้นก็มีปัญหาต่าง ๆ ตามมาและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ในชื่อ Mumbai Maersk ก็เกยตื้นที่เกาะWangerooge จากนั้นก็มีเรือ Ever Forward ก็มาติดอยู่ที่ Baltmore แล้วออกเดินเรือไม่ได้ และเรือ Felicity Ace ก็ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้โดยบนเรือลำ นี้บรรทุกรถยนต์หรูยี่ห้อ Bentley กว่า 189 คัน และอีก 1,100 คันเป็นยี่ห้อ Porche และ Audi เป็นต้น ซึ่งนี้เป็นเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น
ในปีที่ผ่านมา มีเรือที่เสียหายแบบเต็มรูป ถึง 54 ลำ และในปีนี้ มีแนวโน้มว่าปัญหาดังกล่าวจะยังคาราคาซังต่อไป อีกประเด็นหนึ่ง คือ ปัญหาอุบัติเหตุในระหว่างการเดินเรือ ก็พบว่า เพิ่มขึ้น ล่าสุดกว่า 3,000 ครั้ง โดยกว่า 668 ครั้ง เกิดขึ้น ในพื้นที่รอบ ๆ เกาะอังกฤษ โดยปัญหาหลักๆ ที่ เกิดขึ้นมักเป็นเรื่องเครื่องยนต์พัง การชนกันของเรือ หรือแม้แต่ปัญหาอัคคีภัย โดยความเสียหายที่เกินขึ้นและแตกต่างกันนี้เองเป็นปัญหาที่บริษัทประกันภัยจะต้องแยกกันจัดการ

ซึ่งในชั้นแรกส่วนใหญ่จะเป็นการเคลมประกันแบบครบวงจร เหมือนกับประกันรถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งเคลมประกันด้วยเจ้าของประกันเอง ในขณะที่อีกด้านคือ การเคลมประกันโดยฝ่ายที่ได้รับความเสียหายหรือที่เรียกว่า ประกัน “Protection & Indemnity Clubs” ซึ่งส่วนนี้ บริษัทส่วนใหญ่ต้องทำประกันเพิ่มเติมกันเอง ไม่รวมอยู่แพ็กเก็ตของประกันแบบครบวงจร นอกจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเรือ แล้วอีกปัญหาที่ตามมาก็คือ สินค้าที่มีราคาสูงบนเรือได้รับความเสียหายตามไปด้วย โดยเมื่อสินค้ากลุ่มนี้ได้รับความเสียหาย บริษัทประกันก็ต้องชำระค่าความเสียหายที่สูงตามไปด้วย
ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญของบริษัท AGCS ได้บันทึกว่า เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้บนเรือมากกว่า 70 ครั้ง โดยมีเพียง 5% ของสินค้าบนเรือที่รอดจากการไฟ ไหม้ โดยนาย Anastasios Leonburg จาก AGCS ตั้งข้อสังเกตว่า “ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่รวมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเล็กน้อยแบบที่ไม่กระทบกันตัวสินค้าไปจนถึงเหตุที่เกิดขึ้นขนาดใหญ่จนสร้างความเสียหายให้กับสินค้าทั้งหมด”
นอกจากนี้ มีการคาดการณ์กันว่า ในอนาคตเป็นไปได้ที่จะมีความเสียหายเกิดมากขึ้นไปอีกมากขึ้นตามจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่ ถูกขนส่งทางเรือเพิ่มมากขึ้น เพราะแบตเตอรี่ที่ทำจากลิเธียมไอออนนั้นเป็นสินค้าที่ติดไฟได้ง่ายมาก จึงมีความเป็นได้ที่ราคาขนส่งรถยนต์ทางเรือจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต

โดยเฉพาะในกรณี “อุบัติเหตุขนาด ใหญ่” ที่เจ้าของสินค้าจะต้องเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในด้านค่าใช้จ่ายในการกู้เรือด้วย ปัญหาการสู้รับระหว่างรัสเซีย – ยูเครนได้สร้างผลกระทบต่อธุรกิจการเดินเรือเป็นอย่างมาก ขนาดที่ยังไม่สามารถประเมินผลที่ตามมาได้
นาย Manuel Adam จากบริษัท S&P Global กล่าวว่า “ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเรือที่สูญเสียไป จะสามารถประเมินความเสียหายได้ 6 – 12 เดือนหลัง จากนี้” โดยกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเรือเดินสมุทรคาดการณ์กันว่า ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อระยะเวลา ในการขนส่งสินค้าให้นานขึ้น โดยในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายมากขึ้นไปกว่านี้ ในขณะที Demand การส่งสินค้าด้วยเรือเดินสมุทรจะมากขึ้นทั่วโลก จึงทำให้มีการนำเรือประเภทอื่นๆ อย่างเช่น เรือขนน้ำ มัน เรือขนส่งวัตถุดิบมาปรับใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งแน่นอนจะยิ่งทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นตามไปอีก
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
Handelsblatt