ข้อมูลจากการเก็บสถิติโดย Directorate of Investment and Company Administration (DICA) ระบุว่า บริษัทต่างชาติจำนวน 112 บริษัทจาก 18 ประเทศได้ลงทุนกว่า 2.15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของเมียนมา ตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้จนถึง เดือนธันวาคม 2564 ปัจจุบันมีโรงงานประมาณ 102 แห่งที่เปิดดำเนินการในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ)
โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวามีการจ้างแรงงานมากกว่า 12,000 คน ประกอบไปด้วยพนักงานประจำ และคนงานก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ในเขตติละวาโซน A โดยขณะนี้การพัฒนาโซน B อยู่ระหว่างดำเนินการ
ทั้งนี้ เมียนมามีการดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่ง คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา เขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิว และเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาเป็นผู้นำในด้านโครงสร้างพื้นฐานและมีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่สุด
ข้อมูลจากบริษัท Myanmar Thilawa SEZ Holdings Public Ltd. ระบุว่า ธุรกิจมากกว่าร้อยละ 60 ในเขต เศรษฐกิจพิเศษติละวาเป็นผู้ประกอบการด้านการผลิตที่มุ่งเน้นตลาดในประเทศ ขณะที่ร้อยละ 40 เป็นผู้ผลิตที่เน้น การส่งออก ในเขตเศรษฐกิจพิเศษประกอบไปด้วยโซนปลอดภาษีโซนโปรโมชั่นพิเศษ และโซนอื่นๆ ซึ่งบริษัทที่ส่งออก อย่างน้อยร้อยละ 75 ของมูลค่าการผลิตจะได้จดทะเบียนเป็นนักลงทุนในเขตปลอดภาษีและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 7 ปีนับแต่เวลาที่เริ่มดำเนินการ
ดังนั้น บริษัทต่างๆ อาทิเช่น บริษัทโลจิสติกส์ที่สนับสนุนธุรกิจการ ผลิตเพื่อการส่งออกสามารถจดทะเบียนเป็นบริษัทในเขตปลอดภาษีในส่วนของบริษัทการผลิตที่มุ่งเน้นตลาดภายในประเทศจะอยู่ในโซนโปรโมชั่นพิเศษ และถูกจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้ในอัตราพิเศษเป็นระยะเวลา 5 ปี
โดยโซนโปรโมชั่นพิเศษส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดภายในประเทศและภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษเขตนี้จะเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร การประกันภัย โรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ทั้งนี้ ในการประชุมของคณะทำงานส่วนกลางสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ มุ่งเน้นการพัฒนาของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบระหว่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับ สัญญาและการดำเนินการของเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวที่สามารถสร้างโอกาสในการทำงานและช่วยสนับสนุน เศรษฐกิจของภาครัฐ
ในขณะที่ภาคการผลิตเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของการลงทุนจากต่างประเทศ โดยการลงทุนจากต่างประเทศ ยังมีการลงทุนในด้านการค้า การบริการอื่นๆ โลจิสติกส์โรงแรมและการท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีนักลงทุนมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 33 ของการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งหมดตามด้วยสิงคโปร์และไทย
ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษยังมาจากประเทศ เกาหลีฮ่องกง สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มาเลเซีย ออสเตรีย ไต้หวัน เดนมาร์ก บรูไนดา รุสซาลาม เวียดนาม ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์ด้วยเช่นกัน
แหล่งที่มา : Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง