ศูนย์การบินและอวกาศแห่งเยอรมนี ((Deutsches Zentrum für Luft- und Raumfahrt; DLR)) และบริษัทรถยนต์ HWA ได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่ถือว่าเป็นยานพาหนะบนท้องถนนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดใน โลก ภายใต้ชื่อว่า ZeroEmission Drive Unit – Generation1 หรือ ZEDU–1ออกมา
ZEDU–1 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่แทบจะไม่ปล่อยมลพิษออกมา และยังช่วยลดการปล่อยไมโครพลาสติกที่เกิดจากการเสียดสีจากยางรถยนต์บนท้องถนนและการเบรกอีกด้วย รถยนต์ไฟฟ้าคือรถยนต์แห่งอนาคต ดังนั้น การที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักสำคัญสองประการ คือ พลังงานที่ใช้เติมรถต้องมาจากแหล่งผลิตที่ยั่งยืน และ รถยนต์ไฟฟ้าต้องไม่ทิ้งของเสียออกมา โดยแบตเตอรี่และแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อพูดถึงสิ่งแวดล้อม หลายคนมักไม่นึกถึงการใช้งานจริงของยานพาหนะของตน เพราะนอกจากการขับขี่แล้ว ยานพาหนะยังผลิตของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมออกมาอีกด้วย

ระบบเบรกแบบใหม่ทำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ยกตัวอย่างเช่น การเสียดสีของยางรถยนต์บนท้องถนน และการเบรก มีส่วนทำให้เกิดมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กและไมโครพลาสติก หรือ พลาสติกขนาดเล็กที่ปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้รถยนต์ไฟฟ้า ZEDU–1จึง ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นอกจากการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า ZEDU–1 ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของยางรถยนต์และการเบรก เพราะสิ่งเหล่านี้มักเกิดการสึกหรออยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น ZEDU–1 จึงถูกออกแบบมา ไม่ให้มีระบบเบรกแบบดิสก์เบรกในตัวเรือนล้อรถ (ระบบเบรกแบบ ดิสก์เบรก คือ เมื่อเหยียบเบรก แม่ปั๊มจะดันผ้าเบรกไปหนีบกับจานเบรกของล้อรถ ส่งผลให้รถมีการชะลอความเร็ว และหยุดในที่สุด) แต่ระบบเบรกจะถูกบรรจุอยู่ในถังที่มีน้ำมันและเป็นส่วนหนึ่งกับระบบเกียร์และมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบทำความสะอาดของรถยนต์จะรวบรวม และกรองฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กที่เกิดจากการเบรกในวงจรน้ำมันออกมา
วิดีโอ : https://www.facebook.com/DLRde/videos/1974139949643525/

ด้วยเหตุผลดังกล่าว รถยนต์ไฟฟ้า ZEDU–1 นั้นแทบไม่มีการปล่อยไมโครพลาสติกและฝุ่นแบบละเอียดออกมาใน อากาศ เป็นรถที่เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยางรถยนต์ยังมีตัวห่อหุ้ม ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่ง แนวคิดแบบยั่งยืน เนื่องจากว่าการห่อหุ้มยาง ทำให้เกิดความดันต่ำ ดังนั้นการสึกของยางจึงสะสมอยู่ภายในตัว เรือนล้อ ส่วนอากาศเสียที่เกิดจากการเสียดสีของยางรถยนต์กับถนนจะถูกแยกออกมาและถูกกรองให้เป็นอากาศบริสุทธิ์ และจากการทดลองขับรถยนต์ ZEDU–1 ด้วยความเร็วไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พบว่าไม่มีการปล่อยไมโครพลาสติก แต่มีการปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อขับด้วยความเร็วที่สูงกว่านี้ประสิทธิภาพ การปล่อยอากาศบริสุทธิ์จะลดลงเหลือประมาณ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ที่มา: Bild, DLR-Pressemitteilung
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต