ปัจจุบันศูนย์กลางการค้าและย่านธุรกิจสำคัญบริเวณย่านราชประสงค์-ย่านปทุมวันนั้น ประสบปัญหาจราจรอย่างมากเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ (กูรู) มองว่า การวางผังเมืองยังไม่เป็นระเบียบ ตลอดจนขาดระบบฟีดเดอร์เพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งหลักทั้งรถไฟฟ้า
คุณฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจราจรบริเวณย่านการค้าราชประสงค์ เจอปัญหารถติดมา เนื่องจากการวางผังเมืองไม่ค่อยเป็นระเบียบ และระบบขนส่งรองไม่ค่อยเชื่อมกับระบบขนส่งหลัก ทั้งรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ทางฝั่งถ.พระราม 4 และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดังนั้นจึงควรพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ให้เหมือนกับมหานครใหญ่ของโลกในหลายประเทศที่ใช้ระบบแทรมเชื่อมต่อสถานที่สำคัญ อาทิ ศูนย์การค้า โรงแรม สถานฑูต โรงเรียน มหาวิทยาลัยและย่านธุรกิจเป็นต้น คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าแทรมทั้งสองสายรวมมากกว่า 150,000 คน/วัน
“อยากให้ภาครัฐมรการตั้งวาระแห่งชาติระบบขนส่งรองเข้ามาเชื่อมกับรถบบขนส่งหลัก ถ้าสามารถทำได้ประชาชนจะลงจากรถยนต์มานั่งขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องมานั่งติดบนรถยนต์อีกต่อไป และถ้ามีการพัฒนาระบบแทรมในย่างราชประสงค์เพื่อเชื่อมต่อขนส่งหลักได้ เชื่อว่าจะมีผู้มาใช้ระบบแทรมมากกว่า 150,000 คน/วัน”
สำหรับเส้นทางของระบบแทรมที่มีศักยภาพ 2 สายแรก ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าแทรมสายสีเหลือง ช่วงราชปรารภ-สีลม-ชิดลม ระยะทาง 15 กม. วงเงินลงทุน 5-6 พันล้านบาท เป็นรถไฟฟ้าวนลูปเริ่มจากสถานีราชประสงค์วิ่งตามแนวถ.ราชดำริตัดรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวแล้วไปตัดกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีสีลม เลี้ยวซ้ายตามแนวถ.พระราม 4 ไปยังสถานีสวนลุมติดกับรถใต้ดิน ก่อนเลี้ยวเข้าซอยสารสินตรงยาสไปตัดกับถนนเพชรบุรีและเข้าสู่สถานีราชปรารภใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
2.รถไฟรางเบาแทรมสายสีชมพู ช่วงราชประสงค์-สามย่าน-สะพานหัวช้าง ระยะทาง 12 กม. วงเงิน 3-4 พันล้านบาท เริ่มจากสถานีราชประสงค์วิ่งตามแนวถ.ราชดำริเลี้ยวตามถนนพระราม 4 ไปยังสถานีสามย่านก่อนเลี้ยวขวาตามไปแนวถนนพญาไทมุ่งหน้าแยกมาบุญคลองไปยังสถานีสะพานหัวช้างแล้วไปเลี้ยวเข้าถ.เพชรบุรีเพื่อไปยังจุดเริ่มต้นสถานีราชประสงค์
“เบื้องต้น บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC BUS) จะนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งทดสอบดีมานต์ผู้โดยสารในช่วงปลายปีนี้ หากมีเสียงตอบรับที่ดีและยอดผู้ใช้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็จะลงทุนรถไฟฟ้าแทรมต่อไป ทั้งนี้การก่อสร้างโดยการวางรางตรงถนนตามแนวเส้นทางนั้นจะไม่กระทบกับการจราจรหากประชาชนลดปริมาณการใช้ยานพาหนะในพื้นที่ลง ทั้งนี้รถไฟฟ้ารางเบาสามารถบรร จุผู้โดยสารรวมนั่ง-ยืน จำนวน 98-100 คน ต่อ 1 คัน (3 ตู้) 2 เส้นทาง จำนวน 10 คัน จัดทำระบบรางบนถนน พร้อมป้ายสถานี ภายในรถจะเป็นดิจิตอล มีบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย และระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ”
ส่วนจำนวนรถจะใช้ 4 คัน ต่อ 1 เส้นทาง ส่วนอีก 2 คัน รอเสริม รวม 10 คัน ส่วนระยะเวลารถไฟฟ้าวิ่งมาถึงสถานีประมาณ 15 นาที ต่อ 1 คัน ระยะแรกจะทดสอบไปก่อน แต่หากรถติดมากจะเพิ่มจำนวนรถ เพื่อรักษาระยะเวลาไม่ให้เกิน 15 นาที และจะลดลงให้เหลือระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอรถเพียง 10-12 นาที (ตามลำดับ) แต่หากเทียบกับรถไฟฟ้าเส้นหลัก ระยะเวลาการรอ 7 นาที
…มุมมืด