หลังจากที่แคนาดาเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะ การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ จากวิกฤต COVID-19 ในช่วง 2 ที่ผ่านมา โดย หนึ่งในนโยบายหลักของภาครัฐฯ ได้แก่ ลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล และรถไฟฟ้า (Electric Vehicle:EV) ก็เป็นหนึ่งในนโยบาย ที่ภาครัฐให้การผลักดันในเกือบทุกมิติตั้งแต่การ สนับสนุนการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมของภาคเอกชนสร้างห่วง โซ่อุปทานขึ้นใหม่ รวมถึงการออกมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภค เปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น
ทุกวันนี้ชาวแคนาดาได้หันมาสนใจรถไฟฟ้ามากขึ้น จากการสำรวจผู้บริโภคจากบริษัท Auto Trader พบว่า 2 ใน 3 ของ ผู้บริโภคต้องการซื้อรถคันต่อไปที่เป็นรถไฟฟ้า ปัจจัยที่เร่งให้ผู้บริโภค หันมาสนใจมากขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6- 9 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้รถ ส่วนตัวมากขึ้นเนื่องจากความกังวลของไวรัส ลดการใช้ระบบขนส่ง สาธารณะ (Public Transportation) ในปีที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายรถไฟฟ้าในแคนาดาได้พุ่งสูงขึ้น 89% ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของรถไฟฟ้ามากขึ้น
ในปี 2563 ยอดจำหน่ายรถไฟฟ้ามีสัดส่วนเพียง 3.2% แต่ได้ขยายเป็น 5.6% ในปี 2564 และในปี 2565 ยอดจำหน่ายน่าจะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะต้องเผชิญปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ก็ตาม
โดยนับตั้งแต่ปี 2563 รัฐบาลแคนาดาได้ออกนโยบายสร้าง แรงจูงใจให้กับผู้บริโภคให้หันมาซื้อรถไฟฟ้ามากขึ้น โดยจะให้เงินอุดหนุน (Rebate) คันละ 5,000 เหรียญแคนาดา (135,000 บาท) สำหรับรถไฟฟ้า 100% และ 2,500 เหรียญแคนาดา (67,500 บาท) สำหรับรถไฮบริด (รถกึ่งไฟฟ้าและน้ำมัน)
ทั้งนี้มาตรการใหม่ล่าสุดที่จะขยายการคลอบคลุมไม่เพียงรถโดยสารทั่วไป (Passenger Car) แต่รวมไปถึงรถบรรทุก (Truck) รถตู้ขนาด เล็ก (Minivan) และรถอเนกประสงค์ (SUV) ที่ครอบคลุมรถเกือบทุกประเภทที่มีราคาไม่เกิน 60,000 เหรียญแคนาดา (1.62 ล้านบาท)
โดยรถไฟฟ้ารุ่นยอดนิยมในแคนาดา อาทิ Tesla Model 3 มีราคาเริ่มต้นที่ 61,380 เหรียญ แคนาดา (1.65 ล้านบาท) จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวเนื่องจากราคาเกิน 60,000 เหรียญฯ รวมถึงกลุ่มรถหรูจากค่าย Audi, BMW, Porsche และ Mercedes ที่ มีราคาสูงด้วย ในขณะที่รถยนต์ค่ายจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลี ส่วน ใหญ่จะมีรถไฟฟ้าที่ราคาจำหน่ายเริ่มต้นไม่เกิน 60,000 เหรียญฯ รัฐบาลแคนาดาได้วางแผนระยะยาวกำหนดให้รถยนต์ที่จะวาง จำหน่ายใหม่นั้น จะต้องเป็นรถ Zero-Emission ทั้งหมดภายในปี 2579 โดยจะเริ่มกำหนดให้รถรุ่นใหม่ที่เป็น Zero-Emission มีสัดส่วนตลาด 20% ภายในปี 2569 และ 60% ภายในปี 2573
นักวิเคราะห์มองว่า ถ้าหากรัฐบาลไม่มีแผนที่ตั้งในการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้บริโภคและผู้ผลิต เป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ให้เกิดขึ้นได้จริง เพราะทุกวันนี้รถฟ้าส่วนใหญ่จะมีราคาสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเฉลี่ยประมาณ 10,000 เหรียญ (270,000 บาท) เมื่อ เทียบกับรุ่นที่มีขนาดเครื่องยนต์ใกล้เคียงกัน ซึ่งนโยบายสนับสนุน Rebate ในปัจจุบันตั้งไว้คันละ 5,000 เหรียญฯ อาจไม่พอเพียง พอที่จะกระตุ้นให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น และจะสามารถเพิ่มสัดส่วนตลาดได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ได้
แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโทรอนโต