ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม (MoIT) ระบุว่า มูลค่าการค้าระหว่างประเทศยังคงเติบโตในปี2565 ทำให้เกิดความ ต้องการบริการด้านโลจิสติกส์ในปี2564 มูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมของเวียดนามมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 660,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์มากกว่า 4,000 รายให้บริการด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในเวียดนามใช้ประโยชน์จากการพัฒนาแอพพลิเคชันในการเพิ่มการให้บริการ โดยเฉพาะที่ให้บริการแก่ตลาดยุโรป อเมริกา และจีน
ทั้งนี้ ในปี 2564 รายได้และผลกำไรของผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์เวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตเป็น 2 หลัก ใน 10 เดือนของปี2564 ปริมาณสินค้าที่ส่งออกทางบกและทางเรือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 GDP ของตลาดผู้บริโภครายใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน
ด้วยเหตุนี้ คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามมีความก้าวหน้าอย่างมาก ปัจจุบันดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 160 ประเทศเพิ่มขึ้น 25 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนโลจิสติกส์ในเวียดนามยังคงสูงกว่าประเทศอื่นๆ อย่างมาก โดยข้อมูลจากธนาคารโลก (WB) ระบุว่า ในปี 2563 ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 20.9-25 ของ GDP ในขณะเดียวกัน ต้นทุนในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 19 มาเลเซียร้อยละ 13 สิงคโปร์ร้อยละ 8 และสหรัฐอเมริการ้อยละ 7.7
โดยต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าและส่งออกสินค้าในปี2563 สูงขึ้น ซึ่งเสียความได้เปรียบทางการแข่งขัน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่น จีน ไทย ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย
ขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ผู้ประกอบการด้านการขนส่งและคลังสินค้า 2,509 แห่ง ต้องระงับการดำเนินงานชั่วคราว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 โดยผู้ประกอบการได้ดำเนินการเลิกกิจการ 571 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันในปี 2563 ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ของเวียดนามยังคงเผชิญกับการแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างประเทศ
นาง Ho Thị Thu Hoa ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์เวียดนาม ระบุว่า เพื่อปรับปรุงความสามารถในการ แข่งขันของเศรษฐกิจและการค้า ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ของเวียดนามจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการให้บริการที่มีมูลค่าเพิ่ม สูงในฐานะโลจิสติกส์บุคคลที่สาม โลจิสติกส์และบริการโลจิสติกส์บุคคลที่สี่ บริการขนส่งหลายรูปแบบระหว่างประเทศ และ บริการโลจิสติกส์ข้ามพรมแดน เพื่อให้มีผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง
นอกเหนือจากการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด แล้ว ผู้ประกอบการต่างๆ จำเป็นต้องพยายามสร้างระบบที่สามารถปรับเข้ากับตลาดต่างๆ จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการจัดการโลจิสติกส์ผ่านแอปพลิเคชันพอร์ตอิเล็กทรอนิกส์ การตรวจสอบอัตโนมัติการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งและปัญญาประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนและควบคุมกิจกรรม รวมทั้ง พัฒนาทรัพยากรบุคคลคุณภาพสูง
ที่มา: e.vnexpress.net
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย