การดำเนินธุรกิจท่ามกลางการระบาดของCOVID-19 นับเป็นความท้าทายจากแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัย โครงการภาคเอกชนหยุดชะงัก รวมทั้งภาวการณ์ขาดตอนของซัพพลายเชนในการจัดหาและการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร ตลอดจนชิ้นงานต่างๆ ที่เกิดความล่าช้าในการเคลื่อนย้าย และเวลางานที่ลดลง ในช่วงรัฐบาลประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พรก.ฉุกเฉิน นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ธุรกิจต้องหาทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เสมอ ทั้งยังเป็นการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ ในช่วงที่ผ่านมาหลายธุรกิจต่างประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในขณะที่ต้นทุนเพิ่ม รายได้หาย ทำให้ธุรกิจต้องรัดเข็มขัดในทุกด้าน อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนทั่วโลกจาก ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจก็ต้องปรับทั้งวิธีคิดและกระบวนการดำเนินงาน เพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอาจต้องมีการบริหารจัดการที่ต้นทุนเป็นหลัก คือการทำให้ต้นทุนหรือรายจ่ายที่ต่ำลง ในขณะที่คุณภาพไม่ลดตามไปด้วย อย่างเช่น

1.การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ประสิทธิภาพสูงได้อย่างคุ้มค่าเพราะมีการผลิตปริมาณมาก ๆ และลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตได้ และตอบโจทย์ของธุรกิจ ณ ช่วงเวลานั้น อาทิเช่น กรณีแรงงานคนขาดแคลนหรือติดเวลาเคอร์ฟิว เครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติในภาคการผลิตสามารถชดเชยส่วนนี้ได้
2.การประหยัดจากการลงทุน ในช่วงที่ไม่เหมาะสำหรับการลงทุนที่เห็นผลช้าหรือไม่แน่นอน การประหยัดโดยชะลอการลงทุนเท่ากับประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
3. การจัดซื้อจัดจ้าง ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยในการดำเนินการซื้อวัตถุดิบ การว่าจ้างผู้ผลิตชิ้นส่วน เนื่องจากซื้อหรือว่าจ้างในปริมาณมากจึงได้ส่วนลดเพิ่มขึ้น ตรงนี้อาจต้องพิจารณาตามสถานการณ์ เพราะการส๖อกสินค้าก็คือต้นทุนเช่นกัน
4.การปรับกลยุทธ์ด้านการขนส่ง ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งแบบใหม่ โดยการใช้วิธีการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal transportation) ซึ่งเป็นวิธีการขนส่งที่ผสมผสานภายใต้การควบคุมระยะเวลาและต้นทุนที่ต่ำที่สุด ทั้งการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบยังช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องการจราจรติดขัดได้อีกด้วย รวมทั้งการวางแผนจัดการรถเที่ยวเปล่าก็เป็นอีทางเลือกที่สามารถประหยัดต้นทุนการขนส่งได้
5.กลยุทธ์ศูนย์กระจายสินค้า การหาที่ตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่สามารถกระจายและส่งต่อไปยังจังหวัดใกล้เคียงหรือประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยทำให้สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้เนื่องจากการขนส่งตรงถึงลูกค้า โดยการมีศูนย์กระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ มีโครงข่ายกระจายสินค้า ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าและกระจายสินค้าไปสู่ไซด์งานหรือโรงงานของลูกค้าจะทำให้สามารถบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ได้ดีขึ้น

คำแนะนำเหล่านี้เชื่อว่าจะเป็นโยชน์หากสามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ เพราะเราคงไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่า โควิด-19 จะจบลงเมื่อไหร่ และจะเป็นอย่างไรต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงความยุ่งยากที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนการวางแผนรับมือเหตุการณ์ล่วงหน้า ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางปัจจัยความไม่แน่นอนที่รายล้อม